Winnie The Pooh Glitter

บทที่ 4 กลยุทธ์ระบบสารสนเทศ

ความรู้เกี่ยวกับระบบสารสนเทศและการจัดการ

1.  ความหมายและวิวัฒนาการ
1.1       ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (Management Information Systems MIS)
ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ หมายถึง ระบบที่รวบรวมสารสนเทศ ซึ่งเกี่ยวข้องกับการดำเนินงานขององค์กรให้กับผู้ปฏิบัติงานและผู้บริหารเพื่อสนับสนุนภารกิจที่รับผิดชอบ  โดยใช้เทคโนโลยีและอุปกรณ์สมัยใหม่เพื่อสร้างสารสนเทศที่มีประโยชน์ต่อผู้ใช้ เพื่อให้การดำเนินงานขององค์กรเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งปัจจุบันขอบเขตการทำงานของระบบสารสนเทศขยายตัวจากการรวบรวมข้อมูลที่มาจากภายในองค์กรไปสู่การเชื่อมโยงกับแหล่งข้อมูลจากสิ่งแวดล้อมภายนอกทั้งจากภายในท้องถิ่น ประเทศและระหว่างประเทศ  กล่าวคือ ระบบสารสนเทศจะเกี่ยวข้องโดยตรงกับองค์การ การจัดการและเทคโนโลยี
              ระบบสารสนเทศ (Information Systems)  หมายถึง ระบบงานที่ถูกออกแบบขึ้นมาเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูล การจัดทำสารสนเทศ และการสนับสนุนสารสนเทศให้แก่บุคคลหรือหน่วยงานต่าง ๆ ภายในองค์การที่ต้องการใช้
              ข้อมูล (Data) หมายถึง ข้อเท็จจริงได้ถูกเก็บรวบรวมมาโดยที่ยังไม่ได้ผ่านกระบวนการวิเคราะห์ เช่น การบันทึกข้อมูลยอดขายสินค้าแต่ละวัน
              สารสนเทศ (Information) หมายถึง ข้อมูลที่ได้ผ่านกระบวนการประมวลผล หรือจัดระบบแล้ว เพื่อให้มีความหมายและคุณค่าสำหรับผู้ใช้ เช่น    - ปริมาณการขายสินค้าแต่ละตัว   - จำแนกตามเขตการขาย
               คุณลักษณะของสารสนเทศที่ดี                                                                                                                                            
1)            ด้านเนื้อหา (content)
-  Accuracy              ถูกต้องไม่มีข้อผิดพลาด
-   Relevance             สัมพันธ์กับความต้องการ
-   Completeness       ครบถ้วนสมบูรณ์
-   Reliability             เชื่อถือได้
-   Verifiability           ตรวจสอบได้
-   Conciseness           ได้สารสนเทศเฉพาะที่ต้องการใช้
2)            ด้านเวลา (time)        
-  Timeliness             ได้ทันทีที่ต้องการ
-   up-to-date              เป็นปัจจุบัน
-   time period            สามารถบ่งบอก อดีต ปัจจุบัน และ อนาคตได้
1)            ด้านรูปแบบ (format)
-      clarity                   อยู่ในรูปแบบที่เข้าใจง่าย                 
-       level of detail       มีรายละเอียดในระดับที่ต้องการ
-        Presentation       รูปแบบที่นำเสนอ
-        Media                 สื่อที่ใช้
-        Flexibility           ยืดหยุ่น
-        Economy            ประหยัด
2)            ด้านกระบวนการ (process) 
-       Accessibility        การเข้าถึง
-        Participation       การมีส่วนร่วม
-        Connectivity       การเชื่อมโยง
                1.2  วิวัฒนาการของระบบ
                        ใน พ.. 2493  ได้มีการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในงานธุรกิจ โดยใช้กับงานประจำเฉพาะงาน เช่น บัญชีเงินเดือน จัดพิมพ์ใบเสร็จต่าง ๆ ซึ่งมีลักษณะเป็นการประมวลผลรวยการ (Transaction processing) ซึ่งเรียกว่าการประมวลผลข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic data processing – EDP)    ต่อมาใน พ.. 2503  เกิดระบบปฏิบัติการที่ใช้โปรแกรมการจัดการและควบคุมระบบปฏิบัติการ    ในช่วง พ.. 2505-2513   คำว่า Management Information Systems ถูกใช้ในวงจำกัด คือหมายถึงโปรแกรมที่ใช้ในการผลิตเอกสารรายงานประจำงวด โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยผู้บริหารในการทำการตัดสินใจ เช่น การพิมพ์รายงานงบดุลบัญชีของลูกค้าให้ผู้จัดการฝ่ายต่าง ๆ ใช้ในการตัดสินใจ อย่างไรก็ตามระบบสารสนเทศในยุคแรก ๆ มีข้อจำกัดไม่ยืดหยุ่น ใช้ข้อมูลจากการประมวลผลรายการเท่านั้น ระบบสารสนเทศที่ใช้ช่วยในการตัดสินใจจึงได้เริ่มตั้งแต่ปี 2513 และต่อมาเกิดพัฒนาการต่าง ๆ ทั้งไมโครคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์แสดงผลเชิงโต้ตอบ ซอฟต์แวร์ที่ใช้ง่าย และพัฒนาการการด้านเทคโนโลยีฐานข้อมูล ช่วยให้ระบบสารสนเทศที่ใช้ง่ายและดีกว่าเดิม
                ในราว พ.. 2526  ได้มีการวิจารณ์ถึงปัญหาของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการว่าไม่เหมาะสมสำหรับผู้บริหารระดับสูง ซึ่งต้องกำหนดกลยุทธ์ นโยบาย และทิศทางขององค์การ ดังนั้นจึงต้องมีการใช้ข้อมูลทั้งภายในและภายนอกมาใช้จัดทำระบบสารสนเทศด้วย เช่น สภาพเศรษฐกิจ คู่แข่ง ฯลฯ
1.2.1                     บทบาทของระบบสารสนเทศในองค์การ
               ศรีสมรัก อินทุจันทร์ยง (2549 : 256-257)                แบ่งระบบสารสนเทศออกเป็น 5 ยุค ดังนี้
ยุคที่ 1    ช่วงทศวรรษ 1960              -   เน้นการประมวลผลข้อมูลเฉพาะทางเพื่อประสิทธิภาพ    ความรวดเร็ว
                                                                -   ประเมิน ความคุ้มค่าจากอัตราผลตอบแทน (ROI)
ยุคที่ 2 ช่วงทศวรรษ 1970                 -   เน้นประสิทธิภาพ กระบวนการทำงานให้เป็นอัตโนมัติ
                                                                -   ประเมิน เลื่อนจาก ROI ไปเป็น การวัดผลิตภาพเพิ่มขึ้น (Productivity)
                                             การตัดสินใจดีขึ้น
ยุคที่ 3 ช่วงทศวรรษ 1980                 -   จากประสิทธิภาพ ประสิทธิผล เลื่อนเป็นการใช้งานเชิงกลยุทธ์
                                                                  มุ่งเน้นความต้องการของผู้ใช้มากขึ้น
                                                                -   ประเมิน ดูจากความจำเป็นของสถานภาพการแข่งขัน ที่ต้องใช้
                                                                  เป็นเครื่องมือสนับสนุน
ยุคที่ 4 ช่วงทศวรรษ 1990                 -   1.  ใช้ระบบสารสนเทศเชิงกลยุทธ์
                                                                -    2. ใช้ระบบสารสนเทศเป็นเครื่องมือในการปรับเปลี่ยน (transfer)
                                                                        องค์การ อุตสาหกรรม
                                                                -    ประเมิน ดูจากสถานภาพการแข่งขันและเครื่องมือสนับสนุน
ยุคที่ 5 ช่วงทศวรรษ 2000                 -    1.  ยังใช้เป็นแนวเชิงกลยุทธ์ แต่มุ่งเน้นการเพิ่มมูลค่า
                                                                -    2.  สร้างเครือข่ายความร่วมมือ
                                                                 -  พัฒนาองค์การไปสู่องค์การแห่งการเรียนรู้
                                                                -   ประเมิน  พิจารณามูลค่าเพิ่มที่ระบบสารสนเทศสามารถสร้าง ให้กับ
                                                           องค์การ

                  จอห์น วอร์ด แบ่งยุคระบบสารสนเทศ หลัก ๆ ออกเป็น 3 ยุค
The 3 Era view of IS  evolution    (John Ward)
                 |        1960s              |              1970s          |                1980s        |               1990 s        |             2000s
                 Era1 (Data processing  for operational efficiency)
                                                                     Era 2   (MIS  for management effectiveness)
                                                                                               Era 3   (Strategic  IS for business advantages)                                

 
            วิทยาการด้านพฤติกรรม     ที่เกี่ยวข้อง     คือ
วัตถุประสงค์
 




กิจกรรม
แนวตอบกิจกรรม

 






                1.2.2 ความหมายของระบบสารสนเทศเชิงกลยุทธ์ (Strategic information system - SIS)
                ระบบสารสนเทศเชิงกลยุทธ์ (SIS) หมายถึง IS ที่ใช้งานในทุกระดับขององค์การ เช่น TPS, MIS, DSS, ESS ฯลฯ ที่มีการเปลี่ยนแปลงเป้าหมาย กระบวนการ การผลิตสินค้าและบริการ หรือความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม เพื่อช่วยให้องค์การบรรลุเป้าหมาย ตามกลยุทธ์ที่องค์การได้กำหนดไว้
                องค์การมักใช้ระบบ SIS จะช่วยให้ได้มาซึ่งข้อได้เปรียบทางการแข่งขัน ซึ่งองค์การอาจ 
                          -  พัฒนา IS ที่ใช้อยู่เดิม ให้เป็น SIS ได้
                โดย         -  เปลี่ยนกระบวนการทำงาน   เช่น ใช้ Barcode การใช้ระบบ  Electronic เป็นต้น

                1.3  ระบบสารสนเทศกับวิทยาการที่เกี่ยวข้อง
                   การจัดทำระบบสารสนเทศเพื่อให้ใช้ประโยชน์ได้ตรงตามวัตถุประสงค์จำเป็นต้องอาศัยวิทยาการต่าง ๆ มาช่วย  แนวทางการจัดทำจะแบ่งออกเป็น 2 แนวทางคือ ด้านเทคนิค และด้านพฤติกรรม  ซึ่งระบบสารสนเทศจะถูกจัดเป็นระบบเทคนิคสังคม (sociotechnical systems)
           วิทยาการด้านเทคนิค    ที่เกี่ยวข้อง  คือ (Laudon : 2006)
1)        วิทยาการคอมพิวเตอร์ (Computer science) ได้แก่ ทฤษฎีหลักการคำนวณ วิธีการจัดเก็บและเข้า
 ถึงข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ เป็นต้น
           2)   วิทยาการจัดการ (Management science) เช่น การพัฒนารูปแบบการตัดสินใจและการจัดการ ต่าง ๆ
           3)   การวิจัยดำเนินการ (Operations research) จะเน้นเทคนิควิธีการทางคณิตศาสตร์ในการคำนวณหาตัวแปรที่ให้ประโยชน์สูงสุดในการปฏิบัติงานขององค์การ เช่น การขนส่งสินค้า การควบคุมวัสดุคงคลัง และต้นทุนการขนส่ง เป็นต้น
1)        สังคมวิทยา (Sociology) จะพิจารณาด้าน คน กลุ่มคน หรือองค์การที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาระบบ
และผลกระทบที่ได้รับ
2)        จิตวิทยา (Psychology) จะมองถึงระบบสารสนเทศอย่างเป็นทางการนั้นได้ถูก ผู้มีอำนาจในการตัดสิน  
ใจ เข้าใจ และใช้อย่างไร
3)        เศรษฐศาสตร์ (Economics) จะเกี่ยวข้องกับผลกระทบของระบบที่ต้องใช้ต้นทุนและการควบคุม
ในองค์การ และในตลาดอย่างไร

2.         หน้าที่ทางการจัดการ
              หน้าที่ทางการจัดการหมายถึง กระบวนการทำงานและการใช้ทรัพยากรเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายขององค์การที่ตั้งไว้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2.1       ความเป็นมาของการจัดการ    แบ่งได้เป็น
1.        การจัดการสมัยโบราณ
2.        การจัดการในสังคมอุตสาหกรรม
3.        การจัดการสมัยใหม่ 
                        -   เป็นผลโดยตรงจากการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากปัจจัยแวดล้อมทั้งระดับกว้างในสังคม  ระบบองค์การ และระบบการจัดการ
                        -   สภาพแวดล้อม ได้แก่เทคโนโลยีสารสนเทศที่ทำให้เกิดโลกาภิวัตน์


                    2.1.1 ภารกิจการจัดการในองค์การ
                                1)   ภารกิจการจัดการสมัยคลาสสิก ช่วงปลายศตวรรษที่ 19 และต้นศตวรรษที่ 20 การขยายตัวของการปฏิวัติอุตสาหกรรม ภารกิจการจัดการ มี 5 ประการ
                                 (1)  การวางแผน (Planning)
                                 (2)  การจัดองค์การ (Organizing)
                                 (3)  การสั่งการ (Commanding)
                                 (4)  การประสานงาน (Coordinating)
                                 (5)  การควบคุม (Controlling)
2)       ภารกิจการจัดการสมัยใหม่
       (1)  การวางแผน
       (2)  การจัดองค์การและการจัดการทรัพยากร
       (3)  การใช้ภาวะผู้นำขับเคลื่อนกิจการ
       (4)  การควบคุม
3)       บทบาทการจัดการ 10 ประการของ Mintzberg
                2.1.2  ทฤษฏีการจัดการ
                                1.   ทฤษฏีการจัดการสมัยคลาสสิก
                                              (1)  ทฤษฏีการจัดการแบบวิทยาศาสตร์
                                             (2)  ทฤษฏีการจัดการเชิงกระบวนการ
                                                (3)  ทฤษฏีการจัดการระบบราชการ
                                2.  ทฤษฏีการจัดการสมัยนีโอคลาสสิก
                                                (1)  ทฤษฏีมนุษย์สัมพันธ์
                                                (2)  ทฤษฏีเชิงสังคมศาสตร์
                                                (3)  ทฤษฏีพฤติกรรมศาสตร์
                                3.  ทฤษฏีการจัดการสมัยใหม่
                                                (1)  ทฤษฏีสถานการณ์ (Contingency theory)
                                                (2)  ทฤษฏีระบบ (System theory)
                                                (3)  ทฤษฏีศาสตร์การจัดการ (Management science theory)


2.2       องค์ประกอบหน้าที่ทางการจัดการ  มี 3 องค์ประกอบ คือ กระบวนการ การทำให้งานบรรลุ
เป้าประสงค์ และการใช้ทรัพยากร ดังนี้ 
     2.2.1  กระบวนการ  มี 4 ขั้นตอน
(1)   การวางแผน (planning)  เป็นกระบวนการของการกำหนดวัตถุประสงค์และวิธีการที่จะ
ทำให้บรรลุวัตถุ    ประสงค์นั้นในอนาคต
                                                        -  ผู้บริหารระดับสูง      วางแผนแม่บท  (Master Plan)                                                             -                   -  ผู้บริหารระดับกลาง  วางแผนฝ่าย (Functional Plan)
                                      - ผู้บริหารระดับต้น     วางแผนปฏิบัติการ (Action Plan)                     
(2)       การจัดองค์การและงาน (organizing) หมายถึง การจัดโครงสร้างองค์การระบบงาน
กำหนดงานที่ทำ หน่วยงานที่รับผิดชอบ สายการบังคับบัญชา อำนาจหน้าที่ในการตัดสินใจ เพื่อให้เกิดความชัดเจนในการปฏิบัติงานในองค์การ
(3)   การนำและการชักจูง (leading)  หมายถึง การชักจูงให้หน่วยงาน บุคคลที่รับผิดชอบใน
งานได้ทำงานบรรลุตามวัตถุประสงค์ขององค์การที่ตั้งไว้ อย่างมีประสิทธิภาพ โดยใช้วิธีการต่าง ๆ
(4)   การควบคุม  (controlling) หมายถึง กระบวนการของการติดตาม ตรวจสอบผลงานการ
ปรับปรุงแก้ไขเพื่อให้งานได้บรรลุเป้าหมายและวัตถุประสงค์ตามที่วางไว้อย่างมีประสิทธิภาพ
   
  การวางแผน         การจัดองค์การและงาน         การนำและการชักจูง         การควบคุม          
                                                                             การบังคับบัญชา
                                                                             การสั่งการ   
                                                                                         การประสานงาน
                     2.2.2    การทำให้งานบรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่ตั้งไว้
                  2.2.3   การทำให้มีการใช้ทรัพยากรในการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ได้แก่
1.  ทรัพยากรด้านบุคคล           2.   งบประมาณ
3.  วัสดุอุปกรณ์                        4.   เครื่องมือเครื่องใช้
5.   เทคโนโลยี                         6.  ระยะเวลา  ฯลฯ
            2.3  ความสำคัญของการจัดการต่อองค์การ   สรุปได้  2  ประเด็น
1.             เป็นเครื่องมือให้ผู้บริหารและผู้บังคับบัญชาในทุกระดับได้นำไปใช้  เพื่อทำงาน
ให้ตอบสนองต่อวัตถุประสงค์ของงานและองค์การที่ตั้งไว้อย่างมีประสิทธิภาพ
2.             ช่วยทำให้การบริหารงานได้ดำเนินการอย่างเป็นระบบรอบคอบ และได้มีการยึด
ถือหลักการและเหตุผลของการบริหารที่ดี
                   Mintzberg   ได้กล่าวถึงบทบาทในการจัดการ  3  กลุ่ม  10 บทบาทย่อย
                     1.  ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล   บทบาทของผู้จัดการคือ  หัวหน้า ผู้นำ  ผู้ประสานงาน
                             2.  ด้านสารสนเทศ   คือ ผู้กำกับดูแล   ผู้เผยแพร่กระจายข่าว   โฆษกองค์การ
                             3.  ด้านการตัดสินใจ    คือ  ผู้ประกอบการ ผู้ดูแลความเรียบร้อย ระงับความขัดแย้ง ผู้จัดสรร
                                 วางแผนทรัพยากร  ผู้เจรจาต่อรอง

           2.4  ประสิทธิผล ประสิทธิภาพและผลิตภาพของการจัดการ
                        ประสิทธิผล (Effectiveness)    หมายถึง ตัวดัชนีวัดระดับความสำเร็จของการปฏิบัติงานเมื่อเปรียบเทียบกับวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่ได้ตั้งไว้
                        - การปฏิบัติงานที่มีประสิทธิผล หมายถึง การปฏิบัติงานที่ได้ผลงานออกมาเท่ากับหรือมากกว่าวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่ตั้งไว้
สูต
                     ประสิทธิภาพ  (Efficiency) หมายถึง  ตัวดัชนีวัดที่แสดงถึงการวัดอัตราส่วนระหว่างผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นกับต้นทุนที่ใช้ไปในการดำเนินงาน  เช่น     การทำงานที่ได้ผลงานออกมามากแต่ใช้ทรัพยากรน้อย หรือ  ทำงานได้ปริมาณเท่าเดิมแต่ใช้เวลาน้อยทำให้ต้นทุนการผลิตต่อหน่วยลดลง
สูตร                     =   ผลงาน  (output)  :  ต้นทุน(Input)
                                =   ปริมาณการผลิต  ต้นทุนการผลิต    =  750,000  :  10,250,000   =  1  :  13.66
              ผลิตภาพ(Productivity) มีความหมายในลักษณะเดียวกับประสิทธิภาพ  แต่เน้นที่การใช้ทรัพยากรบุคคลในฐานะต้นทุน   (ผลิต  1 หน่วยมีต้นทุน 13.66 การจะมีประสิทธิภาพมากหรือน้อยต้องนำไปเปรียบเทียบกัน)
ประสิทธิผล =      Actual output                      ผลงานที่เกิดขึ้นจริง
                                Planned output                    ผลที่ได้วางแผนไว้
ประสิทธิภาพ =   output                                    ผลงาน
                                Input                                        ทุน

3.  แนวคิดเกี่ยวกับการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ
                การนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ จำเป็นต้องอาศัยงบประมาณค่าใช้จ่ายด้านวัสดุอุปกรณ์สูง ไม่ว่าจะเป็นระบบคอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์ และระบบเครือข่าย  ต้องมีผู้เชี่ยวชาญพร้อมผู้ปฏิบัติงานที่มีความสามารถ รวมทั้งการวางแผนการพัฒนาระบบและการนำวัสดุอุปกรณ์ไปใช้อย่างรอบคอบรัดกุม  จึงจะบรรลุผลตามเป้าหมาย  แม้เทคโนโลยีสารสนเทศจะมีประโยชน์ แต่การนำมาใช้ให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุดไม่ใช่เรื่องง่าย  เพราะเทคโนโลยีสารสนเทศมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เช่น ซอฟต์แวร์บางตัว กว่าจะเรียนรู้วิธีใช้ประโยชน์ได้ครบถ้วน  อาจมีซอฟต์แวร์รุ่นใหม่ออกจำหน่ายอีกแล้ว  การจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศจึงต้องมีวิธีการที่เหมาะสม มิฉะนั้นอาจเกิดปัญหากับหน่วยงานได้  
                การจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศสามารถจำแนกเป็นกลยุทธ์การจัดการที่สำคัญ 3 ด้าน คือ กลยุทธ์ระบบสารสนเทศ กลยุทธ์เทคโนโลยีสารสนเทศ และกลยุทธ์ระบบการจัดการสารสนเทศ ซึ่งกลยุทธ์ทั้ง 3 นี้ ต้องสัมพันธ์และสอดคล้องกับนโยบายกลยุทธ์ วัตถุประสงค์ แผนงานขององค์การรวมทั้งวิธีการดำเนินงาน กล่าวคือ  ต้องการจัดทำระบบสารสนเทศอะไร ใครเป็นผู้ใช้ระบบ  ใช้ในงานลักษณะใด ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอะไรในการสร้างระบบจึงจะบรรลุผลสำเร็จ ตามวัตถุประสงค์ และมีระบบการจัดการอะไรในการจัดสรรทรัพยากรควบคุมการใช้ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
                3.1 กลยุทธ์ระบบสารสนเทศ คือ การกำหนดระบบสารสนเทศที่ต้องการว่า ต้องการสร้างระบบสารสนเทศอะไร (what) และเพราะอะไร (why) เช่น  เป็นระบบสารสนเทศทั้งองค์การ หรือเป็นระบบระดับฝ่ายงานในองค์การ  ลักษณะและรูปแบบของสารสนเทศที่ต้องการคืออะไร  ซึ่งความต้องการสารสนเทศต้องสอดคล้องกับแผนกลยุทธ์ขององค์การ ซึ่งเป็นแผนงานองค์การที่กำหนดว่าหน่วยงานควรมีระบบสารสนเทศอะไรบ้างในช่วง 3 ถึง 5 ปีข้างหน้า รวมทั้งแผนปฏิบัติการประจำปีเพื่อให้สนองเป้าหมายดังกล่าว  ระบบเหล่านี้มีโครงสร้างข้อมูล  ฐานข้อมูลอะไร และมีความสัมพันธ์กันอย่างไร
                การกำหนดความต้องการระบบสารสนเทศว่า องค์การต้องการระบบใด อาจใช้การวิเคราะห์ระบบสารสนเทศของทั้งองค์การ จำแนกตามหน้าที่การทำงาน กระบวนการทำงาน และข้อมูลที่ต้องใช้ หรืออาจใช้การวิเคราะห์เชิงกลยุทธ์ โดยใช้วิธีวิเคราะห์ปัจจัยแห่งความสำเร็จ
              โดยทั่วไประบบสารสนเทศในองค์การจำแนกได้หลายประเภท ได้แก่ ระบบสารสนเทศตามระดับการจัดการในองค์การ ระบบสารสนเทศตามหน้าที่งาน และระบบสารสนเทศสนับสนุนการทำงานขององค์การ ซึ่งบางระบบอาจเป็นสามารถจำแนกได้มากกว่าหนึ่งประเภท และระบบสารสนเทศใดๆ ก็อาจนำไปใช้เป็นระบบสารสนเทศเชิงกลยุทธ์ก็ได้ขึ้นอยู่กับกลยุทธ์ขององค์การในขณะนั้น เช่น ระบบสารสนเทศบริหารลูกค้าสัมพันธ์ ใช้เป็นกลยุทธ์เพื่อรักษาลูกค้าเดิม และหาลูกค้าใหม่  ระบบสารสนเทศการบัญชีเป็นระบบงานของฝ่ายบัญชี  แต่อาจนำผลหรือสารสนเทศที่ได้ไปใช้ในระบบสนับสนุนการตัดสินใจ  เป็นต้น

                3.2  กลยุทธ์เทคโนโลยีสารสนเทศ คือ การนำเทคโนโลยีสารสนเทศไปใช้ เพื่อจัดทำหรือพัฒนาระบบสารสนเทศ โดยพิจารณาว่า ระบบสารสนเทศที่ต้องการนั้นมีกิจกรรมหรือกระบวนการทำงานใด   ที่ต้องใช้เทคโนโลยี ใช้อุปกรณ์ เทคนิคอะไร จะทำได้อย่างไร (how)   เป็นต้นว่า ต้องการเครื่องคอมพิวเตอร์แบบใด จำนวนเท่าไร ซอฟต์แวร์อะไร อุปกรณ์สำหรับใช้บันทึก จัดเก็บข้อมูล และแสดงผลลัพธ์ ระบบจัดการฐานข้อมูล และฐานข้อมูลที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการสื่อสารข้อมูลและครือข่ายคอมพิวเตอร์ต่าง ๆ เพื่อนำไปใช้ในงานแต่ละงานที่เกี่ยวข้อง
3.3           กลยุทธ์ระบบการจัดการสารสนเทศ  คือ การบริหารจัดการเพื่อให้การจัดทำระบบสารสนเทศสำเร็จตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่ตั้งไว้ โดยพิจารณาว่า จะสามารถทำได้อย่างไร และทำอย่างไรจึงเกิดประสิทธิภาพ ดังนั้นกลยุทธ์ระบบการจัดการสารสนเทศจึงเกี่ยวข้องกับประเด็นการจัดการ 3 ประการ คือ  1) ประเด็นปัญหาของการพัฒนาระบบสารสนเทศและ การทำแผนการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ   2) ประเด็นการจัดการทรัพยากรในการจัดการระบบสารสนเทศ ซึ่งได้แก่ การจัดองค์การเทคโนโลยีสารสนเทศ การจัดการทรัพยากรบุคคล ทรัพยากรการเงิน และ 3) ประเด็นการควบคุมความมั่นคงปลอดภัยของระบบสารสนเทศ

1.การจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศเกี่ยวกับกลยุทธ์การจัดการ 3 ด้าน ได้แก่  
1) กลยุทธ์ระบบสารสนเทศ คือ การกำหนดระบบสารสนเทศที่จะจัดทำว่า จะทำระบบอะไร เพื่อให้ได้สารสนเทศที่ต้องการใช้  
2) กลยุทธ์เทคโนโลยีสารสนเทศ คือ การนำเทคโนโลยีสารสนเทศไปใช้ในการจัดทำระบบสารสนเทศ ว่าจะใช้เทคโนโลยีอะไร ใช้อย่างไร และ
3) กลยุทธ์ระบบการจัดการสารสนเทศ คือ การจัดการเกี่ยวกับการพัฒนาระบบและแผนการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ การจัดการทรัพยากรในการจัดการระบบสารสนเทศ และการควบคุมความมั่นคงปลอดภัยของระบบสารสนเทศ

กลยุทธ์กับการวิเคราะห์องค์กร

1.   แนวคิดเกี่ยวกับกลยุทธ์
1.1  ความหมาย
  กลยุทธ์ (strategy) หมายถึง วิถีทางหรือข้อกำหนดที่องค์การสมควรปฏิบัติเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนด ภายใต้ข้อจำกัดของสภาพแวดล้อมภายนอก และขีดความสามารถขององค์การ กลยุทธ์ระบบสารสนเทศ คือ การกำหนดเป้าหมายวัตถุประสงค์ กระบวนการทำงาน ความต้องการสารสนเทศขององค์การ และการเลือกระบบสารสนเทศที่จะนำมาพัฒนา และใช้เป็นแผนแม่บทหรือแผนหลักของการพัฒนาระบบสารสนเทศขององค์การ
กลยุทธ์สัมพันธ์กับประเด็นต่าง ๆ ดังนี้
-                   แผน (plan) หมายถึง กรอบวิธีการดำเนินงานตามกลยุทธ์และวัตถุประสงค์  
                         ประกอบด้วย แผนแม่บท (master plan) และแผนปฏิบัติการ (operation plan)
-                   วิสัยทัศน์ (vision) หมายถึง ทิศทางขององค์การในอนาคต เป็นการมองระยะยาว
-                   ภารกิจ (mission) ครอบคลุมงานที่องค์การต้องทำเพื่อบรรลุวิสัยทัศน์
-                   วัตถุประสงค์ (objective) เป้าหมายหรือจุดที่ต้องการไปให้ถึงโดยกลยุทธ์
        ขณะเดียวกันยังสามารถจำแนกระดับของการวางแผนที่เกี่ยวข้องกับการวางแผนกลยุทธ์  ทั้งนี้โดยทั่วไปนิยมจำแนกระดับของแผนและการวางแผนออกเป็น 3 ระดับดังนี้
-        ระดับกลยุทธ์ (strategic  level) คือ การกำหนดทิศทาง (direction) ภารกิจ (mission) และวัตถุประสงค์ (objective) ขององค์การโดยผู้บริหารระดับสูงเป็นผู้กำหนด เช่น กลยุทธ์การนำระบบสารสนเทศและเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ทั้งองค์การ จะเป็นแผนระยะยาว 5 ถึง 10 ปีอย่างน้อย 3 ปี
-        ระดับกลวิธี (tactical  level) คือ การกำหนดวัตถุประสงค์เป้าหมายของหน่วยงานที่ต้องดำเนินการโดยกำหนดออกเป็นโครงการย่อย ๆ จากระดับองค์การมาเป็นฝ่ายหรือหน่วยงานย่อยที่ต้องใช้ระบบสารสนเทศและเทคโนโลยีสารสนเทศซึ่งต้องสอดคล้อง และสนับสนุนกลยุทธ์หลักขององค์การ มักเป็นแผนระยะสั้น เช่น 1 ปี
-        ระดับปฏิบัติการ (operation level) คือ การนำโครงการย่อยแต่ละโครงการ หรือกระบวนการมากำหนดขั้นตอน วิธีการดำเนินงานรายละเอียดของแผนอันจะนำไปสู่ความสำเร็จของโครงการต่างๆ ตามเป้าหมาย ซึ่งเป็นการสนับสนุนระดับกลวิธี
         



                         1.  การกำหนดเป้าหมาย (Goal Formulation)   สิ่งที่ต้องการให้องค์การเป็นในอนาคต
                        กำหนดเป้าหมายขององค์การออกมาเป็นรูปธรรม ซึ่งจะอยู่ในรูปของ
                        ภารกิจ (mission)  วัตถุประสงค์ (objective)
2.   การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม (Environmental Analysis)   ปัจจัยที่มีผลต่อการดำเนินธุรกิจ
           ขององค์การทั้งด้านดี และ ไม่ดี   เพื่อหา  ศักยภาพ และ ความพร้อม ขององค์การ หรือ 
          SWOT  Analysis   ภายในองค์การ  คือ จุดแข็ง (strength),  จุดอ่อน (weakness)  และ 
          ภายนอกองค์การ  คือ โอกาส  (opportunity),   ภาวะคุกคาม (threat)  
3.  การกำหนดและการวางแผนกลยุทธ์ (Strategy Formulation and Planning)
           นำข้อมูลที่ได้จากการ กำหนดเป้าหมาย  สภาพแวดล้อม และ สภาพแวดล้อมภายในมา   
          กำหนด   กลยุทธ์ขององค์การ โดยพิจารณาประเด็นสำคัญเชิงกลยุทธ์ 
               -แผนการ    วิธีปฏิบัติ      -  การประเมินรายละเอียดของแผน
4.   การนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ (Strategy Implementation)
           การจัดสรรทรัพยากร ค่าใช้จ่าย ระยะเวลา ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จ หรือความล้ม    
          เหลวของกลยุทธ์
5.   การควบคุมกลยุทธ์ (Strategy Control)
            การติดตาม ตรวจสอบ และประเมินว่าการดำเนินงานเป็นไปตามแนวทางที่ต้องการหรือไม่     
           (Feedback)  เพื่อการปรับปรุงให้เหมาะสม


การจัดการเชิงกลยุทธ์ที่ประสบผลสำเร็จขึ้นอยู่กับ
                                -  วิสัยทัศน์ของผู้บริหาร
                                -  การวิเคราะห์และตัดสินใจที่มองการณ์ไกล
                                การตีประเด็นปัญหาได้ถูกต้อง
 หนังสือบางเล่ม     การจัดการเชิงกลยุทธ์  ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน               
   1.  การประเมินสภาวะแวดล้อม
    2.  การกำหนดกลยุทธ์
    3.  การนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ
   4.  การประเมินและควบคุมกลยุทธ์
                                               
             การเปลี่ยนแปลงและการแข่งขันที่รุนแรงของภาคธุรกิจในปัจจุบัน ส่งผลให้องค์การธุรกิจสมัยใหม่ต้องมีการดำเนินการทางกลยุทธ์ตลอดช่วงชีวิตขององค์การ เพราะต้องการให้มีต้นทุนต่ำกว่าคู่แข่ง เน้นความแตกต่างของสินค้า ขยายขนาดการทำธุรกิจ  ซึ่งอาจลดความหลากหลายของสินค้าโดยเน้นผลิตเฉพาะสินค้าที่มีคุณภาพเหนือกว่าคู่แข่งขัน
       1)   เหตุผลที่ธุรกิจต้องใช้กลยุทธ์   ที่สำคัญในปัจจุบัน คือ
1.  แรงผลักดันจากลูกค้า (customer Driven) เพราะการเปิดเสรีทางการค้าในอุตสาหกรรม และ
บริการ ลูกค้ามีทางเลือกในการตัดสินใจมากขึ้น ธุรกิจต้องให้ความสำคัญกับลูกค้า
             2.  การแข่งขันระดับโลก (global competition)  การเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว จนมีการขยายข้าม
พรมแดน  ทำให้ธุรกิจต้องปรับตัวเพื่อการแข่งขันในเชิงรุก - รับ
              3.  การกำหนดขนาดที่เหมาะสม (right sizing)  การเปลี่ยนแปลงของ ไอทีจะต้อง  ปรับรูปแบบ
โครงสร้างองค์การให้เหมาะสม  ปรับบุคลากร และการคิดอย่างมีระบบ    การใช้ทรัพยากรร่วมกัน
              4.  คุณภาพ (Quality)  พัฒนาคุณภาพ และ บริการ นำการจัดการสมัยใหม่
-                   การจัดการคุณภาพโดยรวม (TQM)
-                   การผลิตโดยไม่มีข้อผิดพลาด (Zero Defect)
-                   คุณภาพจากแหล่งกำเนิด (Quality of Source)
               5.  เทคโนโลยี (Technology)    เครื่องมือสำคัญในการสร้างความได้เปรียบ
   2) กลยุทธ์พื้นฐาน ด้านไอที
   1.  กลยุทธ์การเป็นผู้นำด้านการมีต้นทุนต (lower cost leadership)
                      องค์การจะมีความได้เปรียบในการแข่งขันก็ต่อเมื่อสามารถผลิตสินค้าที่มีมูลค่าสูงกว่าแก่ลูกค้า หรือ ผลิตสินค้าที่มีคุณภาพทัดเทียมกันได้ในราคาต้นทุนที่ต่ำกว่า จึงควรพัฒนาระบบ  ที่สนับสนุนกิจกรรมที่สามารถเพิ่มมุลค่าให้แก่สินค้าและบริการให้มากที่สุด
        การจัดการโซ่อุปทานและระบบสนองลูกค้าที่มีประสิทธิภาพ การใช้รูปแบบโซ่มูลค่า (value chain model) จะมององค์การในลักษณะของโซ่ของกิจกรรมต่าง ๆ ที่ค่อยเพิ่มมูลค่าให้แก่สินค้าหรือบริการ ซึ่งการนำระบบสารสนเทศ l มาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพจะทำให้เกิดผลประโยชน์สูงสุด รูปแบบของโซ่มูลค่าสินค้า คือ
        โซ่อุปทาน (supply chain) คือ ความพยายามที่จะให้เกิดประสิทธิภาพด้านการผลิตและจัดส่งสินค้าหรือบริการจากผู้จัดส่งสินค้า ขั้นตอนแรกจนถึงลูกค้าขั้นตอนสุดท้าย จะเน้นการทำกิจกรรมการสั่งซื้อวัตถุดิบและส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์ให้เป็นไปอย่างราบรื่นและประหยัดที่สุด จะเป็นส่วนหนึ่งของ มูลค่าเพิ่ม (value chain)  ซึ่งกว้างกว่าจะดูตั้งแต่ขบวนการผลิตกิจกรรมที่เกี่ยวกับการแปรรูปวัตถุดิบไปจนถึงสินค้าที่ส่งถึงผู้บริโภค
                  SCM   คือ ปรัชญาหรือแนวคิดที่นำมาสนับสนุนการทำโซ่อุปทานที่ใช้เทคโนโลยี ความสำเร็จของโซ่อุปทานย่อมมีส่วนของการวางแผนทรัพยากรองค์กร (enterprise resource planning - ERP)
                  ERP  คือ การวางแผนควบคุมการปฏิบัติงานและจัดการสารสนเทศจากการทำธุรกรรมที่เกิดขึ้นในโซ่อุปทาน แต่ไม่ได้มุ่งเน้น การจัดการสายโซ่อุปทานเอง
2.  กลยุทธ์การสร้างความแตกต่างในตัวสินค้าและบริการ (differentiation)
                ระบบสารสนเทศสำหรับสินค้าและบริการ (information system products and services) ถูกนำมาใช้ในการสร้างสินค้าหรือบริการที่ไม่เหมือนสินค้าของผู้อื่น ทำให้สินค้าแตกต่าง (product differentiation) ทำให้ลูกค้าเกิดการยึดติดในสินค้าหรือบริการ
                  การกำหนดคุณลักษณะตลาดเป้าหมายสำหรับสินค้าหรือบริการที่ต้องการความโดดเด่นเหนือสินค้าอื่น จะเป็นตลาดที่แคบลงหรือมีคู่แข่งที่น้อยลง การสร้างความแตกต่างที่เป้าหมาย (focused differentiation) จะ เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลจำเพาะในจุดที่ต้องการเน้นสินค้าและ บริการ  หรือลูกค้า  เช่น การค้นหา รูปแบบ รสนิยม ความชอบ เพื่อจะได้ทราบถึงความต้องการเฉพาะกลุ่มลูกค้าแต่ละกลุ่ม เทคนิคการค้นหาข้อมูลในลักษณะของการทำเหมืองข้อมูล (data mining)
 3.  กลยุทธ์การสร้างนวัตกรรมทางธุรกิจด้านสินค้าและบริการใหม่ ๆ (innovation)
                  ความต้องการในรูปแบบผลิตภัณฑ์ และ บริการที่ดี  มีคุณภาพ  สร้างความพึงพอใจ ประทับใจโดย ใช้ไอทีในการสร้างสินค้าหรือบริการที่ไม่เหมือนสินค้าของผู้อื่น ทำให้สินค้าแตกต่าง (product differentiation) ทำให้ลูกค้าเกิดการยึดติดในสินค้าหรือบริการนั้น ๆ (brand and loyalty)
             4.   กลยุทธ์การขยายธุรกิจ (promote growth)
    ขยายขนาดการทำธุรกิจ  ซึ่งอาจลดความหลากหลายของสินค้าโดยเน้นผลิตเฉพาะสินค้าที่มีคุณภาพ
เหนือกว่าคู่แข่งขัน เป็นการเพิ่มมูลค่าของสินค้าหรือบริการ
                5.  กลยุทธ์การสร้างหรือหาพันธมิตร (develop alliances)
                   การเป็นหุ้นส่วนสารสนเทศ (information partnerships) องค์กรขนาดใหญ่อาจจะผนวกระบบสารสนเทศเข้าด้วยกันเป็นหุ้นส่วนเฉพาะในด้านการใช้งานข่าวสารสารสนเทศ  เช่น มีความร่วมมือกันมากขึ้นในระหว่างองค์กรที่อยู่ในกลุ่มอุตสาหกรรมเดียวกัน

ตัวอย่าง     การจัดการสารสนเทศ และการใช้กลยุทธ์

                                                 ระดับกลยุทธ์                                         London ( 2006)
                                             

ตัวแบบแรงผลักดันในการแข่งขัน    (Porters Five Forces Model)
1. The threat of new entrants                               - คู่แข่งขันที่เข้ามาใหม่
2. The bargaining power of suppliers                  -  อำนาจต่อรองของผู้จำหน่ายสินค้าและวัตถุดิ
3. The bargaining power of customers                -  อำจาจต่อรองของลูกค้า
4. The threat of substitute products or services    - สินค้าและบริการทดแทน
5.  The rivalry among existing firms in the industry     - การแข่งขันจากคู่แข่งขันที่มีในปัจจุบัน
- ประเมินจากกิจกรรม ความสามารถ จุดแข็ง จุดอ่อน
กลยุทธ์เพื่อความได้เปรียบในการแข่งขัน 
1. Cost leadership strategy                    -  การเป็นผู้นำต้นทุนต่ำ
2. Differentiation strategy                        การสร้างความแตกต่างของสินค้าและบริการ
3. Niche strategy (niche market)            -   การเจาะตลาด (เริ่มจากจุดเล็ก ๆ)
4. Growth strategy (increase market share)   การเติบโต
                                                                -  ขยายตลาด ลูกค้า สินค้าบริการช่องทาง
5. Alliance strategy (cooperation + competition) พันธมิตรร่วมค้ากับผู้ประกอบการธุรกิจ                                                           
                                                                                     -  ที่เหมือนกัน หรือ ต่างกัน
6. Innovation strategy (introduce new products + services)  นวัตกรรม
                                                                            -  คิดค้นระดิษฐ์สินค้าและบริการใหม่ๆ
7. Entry-barrier strategy (entry barriers; use IT to provide) สร้างอุปสรรคสำหรับผู้เข้ามาใหม่
8. Customer orientation                        - ให้ความสำคัญกับความพึงพอใจของลูกค้า
9. Time                                                  -  เวลา ถือเป็นทรัพยากรอย่างหนึ่ง
10.Operational effectiveness                -  ดำเนินการอย่างมีประสิทธิผลกว่าคู่แข่ง
11. Lock in customers or suppliers       - ให้คงอยู่กับบริษัทตลอดไป
12.Increase switching costs                 -  ไม่ให้เปลี่ยนไปใช้บริษัทอื่นเพราะอาจแพงกว่า

2.     ความสัมพันธ์ระหว่างกลยุทธ์องค์การและกลยุทธ์ในการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ
                    การกำหนดกลยุทธ์เป็นหัวใจหลักในการกำหนดทิศทางการดำเนินงานขององค์การ และใช้เป็นหลักในการกำหนดกลยุทธ์ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศทั้ง 3 ด้าน คือ กลยุทธ์ระบบสารสนเทศ กลยุทธ์เทคโนโลยีสารสนเทศขององค์การ และกลยุทธ์ระบบการจัดการสารสนเทศ  ดังนั้น กลยุทธ์ทั้ง 3 ด้านต้องสอดคล้อง และสนับสนุนกลยุทธ์หลัก  ขณะเดียวกันในการกำหนดกลยุทธ์ต้องมีการวิเคราะห์และประเมินสภาพแวดล้อม ปัจจัยที่มีผลต่อการดำเนินงาน เพื่อหาศักยภาพตามความพร้อมขององค์การ 
        กลยุทธ์องค์การ เป็นกลยุทธ์รวมขององค์การที่กำหนดขึ้น เพื่อระบุทิศทาง การตัดสินใจขององค์การว่าต้องการให้องค์การเป็นในอนาคต โดยกำหนดในรูปของภารกิจ วัตถุประสงค์ และเป้าหมาย ตลอดจนการปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ให้เหมาะสมตามสภาพสังคม เศรษฐกิจ การค้า และบรรยากาศของการแข่งขัน
        กลยุทธ์ระบบสารสนเทศ เป็นการกำหนดความต้องการสารสนเทศที่สนับสนุนกลยุทธ์ขององค์การ โดยเป็นผลจากจากการวิเคราะห์  โดยมีวิธีการวิเคราะห์ที่ใช้อย่างกว้างขวาง 2 วิธี คือ การวิเคราะห์องค์การ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า การวางแผนระบบธุรกิจ และ การวิเคราะห์ปัจจัยแห่งความสำเร็จ ความต้องการสารสนเทศที่ได้จะนำมาวิเคราะห์ร่วมกับสิ่งแวดล้อมขององค์การ เพื่อหาศักยภาพตามความพร้อมขององค์การ   รูปแบบกระบวนการทำงานหรือกระบวนงานต่าง ๆ ขององค์การ ระบบสารสนเทศที่ต้องการ เพื่อนำมาประยุกต์สร้างระบบสารสนเทศ โดยจัดลำดับตามความจำเป็น ความสำคัญ และความเหมาะสมของระบบสารสนเทศที่ต้องการและเทคโนโลยีที่ต้องใช้ ซึ่งต้องปรับกลยุทธ์ให้เป็นปัจจุบันอยู่เสมอ
        กลยุทธ์เทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นการเลือกและตัดสินใจเกี่ยวกับเทคโนโลยีว่ าจะประยุกต์งานระบบสารสนเทศอย่างไร กิจกรรมใดที่ต้องใช้เทคโนโลยี อุปกรณ์ ตลอดจนโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีสารสนเทศเ พื่อบรรลุตามความต้องการในการใช้จัดทำระบบสารสนเทศ และบริการสารสนเทศ
        กลยุทธ์ระบบการจัดการสารสนเทศ  คือ การบริหารจัดการเพื่อให้การจัดทำระบบสารสนเทศสำเร็จตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่ตั้งไว้ โดยพิจารณาว่า จะสามารถทำได้อย่างไร และทำอย่างไรจึงเกิดประสิทธิภาพ  โดยเน้นการพัฒนาระบบสารสนเทศและ การทำแผนการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ   การจัดการทรัพยากรในการจัดการระบบสารสนเทศ และการควบคุมความมั่นคงปลอดภัยของระบบสารสนเทศ
        การกำหนดกลยุทธ์ระบบสารสนเทศ กลยุทธ์เทคโนโลยีสารสนเทศ และกลยุทธ์ระบบการจัดการสารสนเทศ  ต้องศึกษาจากสภาพการใช้และเทคโนโลยีขององค์การ รวมทั้งของหน่วยงานอื่นที่ปฏิบัติงานคล้ายกัน แนวโน้มของเทคโนโลยีและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อวางแผนพัฒนาระบบสารสนเทศ ซึ่งการพัฒนาระบบต้องมีวิธีการจัดการทรัพยากรสารสนเทศ อันได้แก่ การจัดองค์การ บุคลากรที่เกี่ยวข้อง และค่าใช้จ่าย ตลอดจนวิธีการควบคุมความมั่นคงปลอดภัยของระบบ

           กลยุทธ์องค์การคือทิศทางและภารกิจขององค์การว่า องค์การต้องการดำเนินงานหรือทำธุรกิจอะไร ทำไมจึงต้องทำ หลังจากนั้นจึงพิจารณาว่า องค์การต้องอาศัยสารสนเทศอะไรในการดำเนินงาน และใช้เพื่อทำอะไร ซึ่งคือ กลยุทธ์ระบบสารสนเทศ ทั้งนี้ การจัดทำระบบสารสนเทศต้องอาศัยกลยุทธ์เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการรวบรวมจัดเก็บ ประมวลผล และสื่อสารข้อมูล ขอบเขตการดำเนินงานของกลยุทธ์ระบบสารสนเทศ และกลยุทธ์ระบบการจัดการสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการใช้ระบบสารสนเทศในงานด้านต่าง ๆ  ดังนั้นกลยุทธ์ระบบการจัดการสารสนเทศและกลยุทธ์เทคโนโลยีสารสนเทศ จะสัมพันธ์กับกลยุทธ์ระบบสารสนเทศ (Ward and Peppard 2002)
3.              การวิเคราะห์ความต้องการสารสนเทศขององค์การ
        การที่จะกำหนดได้ว่าองค์การต้องการจัดทำระบบสารสนเทศอะไรนั้นต้องมีการกำหนดความต้องการสารสนเทศขององค์การที่สามารถสนองตอบต่อองค์การได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้นมีวิธีการพื้นฐาน 2 วิธี คือ การวิเคราะห์องค์การ และปัจจัยแห่งความสำเร็จ ซึ่งอาจเลือกใช้วิธีใดวิธีหนึ่งก็ได้ ดังนี้ คือ (Laudon and Laudon 2004)
                3.1  การวิเคราะห์องค์การ (enterprise analysis) หรือ การวางแผนระบบธุรกิจหรือบีเอสพี (business systems planning – BSP) เป็นการวิเคราะห์ความต้องการสารสนเทศของทั้งองค์การ โดยพิจารณาจากหน่วยงาน (unit) หน้าที่งาน (function) กระบวนการทำงาน (process) และข้อมูล (data) ที่เกี่ยวข้องให้ครอบคลุมและครบถ้วน
                วิธีการนี้ใช้การสัมภาษณ์จากผู้บริหารระดับต่าง ๆ ถึง การใช้ข้อมูลของหน่วยงาน หน้าที่งาน กระบวนการทำงาน สิ่งแวดล้อมที่แต่ละคนทำงาน วัตถุประสงค์ที่ต้องการ และความต้องการข้อมูล ผลจากการสัมภาษณ์จะรวบรวมไว้เป็นตาราง โดยระบุผู้สร้างข้อมูลและผู้ใช้ข้อมูล ข้อดี ของการวิเคราะห์องค์การ คือ ได้ข้อมูลทั้งหมด ข้อจำกัด คือ มีข้อมูลปริมาณมาก ทำให้ยากต่อการวิเคราะห์ เสียค่าใช้จ่ายในการรวบรวมและการวิเคราะห์สูง ส่วนใหญ่การวิเคราะห์องค์การสัมภาษณ์ผู้บริหารระดับต้นและระดับกลาง  ผลที่ได้จึงมักเน้นข้อมูลที่ใช้งานของตน  แทนการมุ่งเน้นหาข้อมูลที่มีความสำคัญในการตอบสนองเป้าหมายขององค์การ
          3.2 การวิเคราะห์เชิงกลยุทธ์ (Strategic Analysis) หรือ ปัจจัยแห่งความสำเร็จหรือซีเอสเอฟ (Critical Success Factor -- CSF)  เป็นการวิเคราะห์ว่า อะไรคือปัจจัยสำคัญที่ทำให้องค์การสามารถทำได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ ซึ่งการบรรลุเป้าหมายนี้ถือว่าเป็นความสำเร็จขององค์การ  การวิเคราะห์ปัจจัยแห่งความสำเร็จเริ่มจากการพิจารณาภารกิจและเป้าหมายขององค์การแต่ละเป้าหมาย และวิเคราะห์ว่าเป้าหมายแต่ละข้อนั้นมีปัจจัยสำคัญอะไรบ้างที่ช่วยให้เกิดความสำเร็จ เมื่อรวบรวมปัจจัยแห่งความสำเร็จทั้งหมดแล้ว จึงนำปัจจัยแห่งความสำเร็จมาวิเคราะห์กับสภาพแวดล้อมด้านศักยภาพและความพร้อมขององค์การ หรือการวิเคราะห์สวอต  (SWOT analysis) ซึ่งเป็นการวิเคราะห์ประเด็นสำคัญ 4 ด้าน คือ สถานการณ์ภายในขององค์การด้านจุดแข็ง (strength) จุดอ่อน (weakness) ขององค์การ และสถานการณ์ภายนอกขององค์การด้านโอกาส (opportunity) และอุปสรรคหรือภาวะคุกคาม (threat)   ผลที่ได้ทำให้มีข้อมูลในการกำหนดความต้องการสารสนเทศขององค์การได้อย่างเหมาะสม สอดคล้องกับสภาวะแวดล้อม และนำไปสู่ความสำเร็จขององค์การได้ โดยนำมาจัดลำดับความสำคัญ เพื่อการลงทุนในระบบสารสนเทศ เกณฑ์ ผลประโยชน์ที่ได้รับ การลงทุนด้านทรัพยากรและความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น
                วิธีการของปัจจัยแห่งความสำเร็จ ใช้วิธีการสัมภาษณ์ผู้บริหารเกี่ยวกับเป้าหมาย วัตถุประสงค์ และผลที่คาดหวังเกี่ยวกับปัจจัยสำคัญที่รวบรวมมา  ข้อดี คือ มีปริมาณข้อมูลที่ต้องวิเคราะห์ไม่มาก และมุ่งเน้นปัจจัยที่เกี่ยวข้องจากสภาพแวดล้อมต่างๆ  ข้อจำกัด คือ การได้ข้อมูลจากผู้บริหารด้านเดียว ข้อมูลนั้นอาจมีความเอนเอียงไปตามความต้องการของผู้บริหารได้ จึงอาจไม่ใช่เป็นข้อมูลที่เป็นตัวแทนขององค์การอย่างแท้จริง
การออกแบบองค์การใหม่ด้วยระบบสารสนเทศ
1.   ระบบสารสนเทศกับการเปลี่ยนแปลงในองค์การ
1.1  การกำหนดความต้องการสารสนเทศขององค์การ       การสร้างระบบสารสนเทศ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในองค์การ การนำระบบสารสนเทศเข้ามาใช้งานจะต้องเกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งด้านกระบวนการทำงาน   การบริหารจัดการ และการจัดองค์การ ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงขององค์กรอย่างหนึ่ง  แผนพัฒนาระบบต้องสอดคล้องกับแผนดำเนินธุรกิจ  หรือแผนงานองค์การ
                องค์การจำนวนมากจะนำเทคนิคการบริหารแบบ TQM เข้ามาใช้เพื่อให้เกิดความแน่ใจว่ากระบวนการดำเนินงานแบบใหม่จะมีประสิทธิภาพสูงกว่าเดิมกล่าวคือพนักงานในสายการผลิตเมื่อทำงานก็พยามค้นหาจุดบกพร่องของงานไปพร้อมๆกัน  ข้อผิดพลาดที่สามารถอาจพบได้ตั้งแต่จุดเกิดเหตตุจะมีค่าใช้จ่ายในการซ่อมหรือปรับปรุงต่ำ เดิม Quality management ใช้ในอเมริกาและญี่ปุ่นนำไปพัฒนาเป็น TQM  ระบบสารสนเทศ ช่วย การปรับปรุงประสิทธิภาพกระบวนการทำงาน ดังนี้
3.3        การพัฒนางานประยุกต์สำหรับองค์การดิจิทัล
     1.   ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาแผนกลยุทธ์
     2.  การออกแบบธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์
และการกำหนดความต้องการสารสนเทศขององค์การ    การวางแผนระบบสารสนเทศขององค์การ Laudon เสนอ 2 วิธีพื้นฐาน คือ  (Laudon and Laudon 2006:468-472)
1)            การวิเคราะห์องค์การ (enterprise analysis) หรือวางแผนระบบธุรกิจ (business systems planning) 
เป็นการกำหนดความต้องการสารสนเทศของทั้งองค์การในรูปขององค์ประกอบในองค์กร หน้าที่การทำงาน  กระบวนการทำงาน และข้อมูลแต่ละตัว
      วิธีการ ใช้การเลือกตัวอย่างจากผู้บริหาร  ตั้งคำถามวิธีการใช้ข้อมูล ได้ข้อมูลมาจากที่ใด สิ่งแวดล้อมที่แต่ละคนทำงาน วัตถุประสงค์ที่ต้องการ วิธีการตัดสินใจ และความต้องการข้อมูล ผลจาก  การสำรวจจะรวบรวมเข้าด้วยกัน ในรูปตารางแบบเมทริกซ์ (matrix) เป็นหน่วยงาน หน้าที่งาน กระบวนการ ประมวลผล และ
ตารางข้อมูล
จุดอ่อน วิธีนี้เป็นการสร้างข้อมูลจำนวนมากเสียค่าใช้จ่ายสูงในการรวบรวมและการวิเคราะห์ ส่วน
ใหญ่จะสอบถามผู้บริหารระดับกลาง ซึ่งจะเน้นข้อมูลที่ใช้งานอยู่แทนที่จะมุ่งเน้นหาข้อมูลที่มีความสำคัญ
ในการตอบสนองวัตถุประสงค์ขององค์การ
2)            การวิเคราะห์เชิงกลยุทธ์(strategic analysis)หรือ ปัจจัยแห่งความสำเร็จที่สำคัญ (critical success
factors - CSF) ซึ่งเห็นว่าความต้องการสารสนเทศขององค์กรถูกกำหนดขึ้นโดยปัจจัยที่ทำให้เกิดผลสำเร็จของผู้บริหารจำนวนไม่มาก  วิธีการ  ใช้การสัมภาษณ์ผู้บริหารระดับสูงประมาณ 3-4 คน เพื่อให้กำหนดวัตถุประสงค์และผลที่คาดเดาของปัจจัย CSF เพื่อนำไปประมวลสำหรับกำหนดเป็น CSF ขององค์กรจากนั้นจึงนำไปพัฒนาระบบสารสนเทศขึ้นมา
จุดดี  คือ มีปริมาณข้อมูลที่ต้องทำการวิเคราะห์น้อย  เป็นการมุ่งเน้นเกี่ยวกับปัจจัยที่ทำให้เกิดผลสำคัญจึงเป็นวิธีการที่เหมาะกับการนำมาใช้กับการพัฒนาระบบสารสนเทศที่สนับสนุนการตัดสินใจ และระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหารระดับสูง  จุดอ่อนของวิธีการนี้คือกระบวนการนำข้อมูลไปใช้และการวิเคราะห์เป็นงานประเภท ศิลป์มากกว่า ศาสตร์จึงไม่มีวิธีการที่แน่นอนตายตัวและอีกประการหนึ่งอาจมีการสับสนว่าอะไร คือ CSF ขององค์กร หรือข้อมูล
Turban  (2006) เสนอเพิ่มอีก 2 วิธี คือ Stage of Growth และ Scenario Planning                           
3)        สภาวะพัฒนาการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (stage of growth)  คือ ดูพัฒนาการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศขององค์การว่าอยู่ในช่วงใด  การเติบโตของเทคโนโลยีสารสนเทศ  แบ่งเป็น  6 ช่วง
   (1)  ช่วงเริ่มต้น  (initiation)          เริ่มนำเทคโลโลยีมาใช้
   (2)  ช่วงขยาย     (expansion)        มีการขยายการใช้มากขึ้น
   (3)  ช่วงควบคุม (control)              เมื่อขยายการใช้มากขึ้น มีค่าใช้จ่ายมากขึ้น จึงมีการพิจารณาผลที่ได้       (4)  ช่วงบูรณาการ (integration)           บูรณาการการทำงานด้านต่าง ๆ
   (5)  ช่วงบริหารข้อมูล (data administration)   ผลิตสารสนเทศ และรูปแบบตามที่คตอวการใช้
   (6)  ช่วงเจริญเติบโตเต็มที่ (maturity)  จัด IT เป็นส่วนหนึ่งของธุรกิจ data เป็นทรัพยากรองค์การ  และใช้   IT เป็นกลยุทธ์
                 4)  การวางแผนจากสถานการณ์ (scenario planning)  คือ การวางแผนจากสถานการณ์ หรือเหตุการณ์ที่อยู่ในระบบ เช่น การช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่ลูกค้า e-commerce
           1.2  ระดับของการเปลี่ยนแปลงในองค์การ  เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในองค์การ ได้เป็น 4 ระดับคือ  คือ  (Laudon and Laudon 2006:472-473)
1)            Automation  คือระบบงานอัตโนมัติช่วยให้การทำงานที่เป็นอยู่ในปัจจุบันทำได้รวดเร็วและมี
ประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงขึ้น เช่นการที่พนักงานสามารถเรียกข้อมูลรายการฝากเงินของลูกค้าได้ทันที
                 2)  Rationalization of procedures  คือการเปลี่ยนแปลงกระบวนการปฏิบัติงาน เป็นการปรับปรุงระเบียบวิธีปฏิบัติประจำ ให้มีความรัดกุม คล่องตัวขจัดปัญหาคอขดต่างๆ ช่วยให้ระบบ automation ทำงานได้ดียิ่งขึ้น
                  3)  Business reengineering คือการออกแบบระบบงานใหม่ โดยการวิเคราะห์กระบวนการทางธุรกิจ เพื่อการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ต้องทบทวนกระบวนการทำงานทั้งหมด อาจรวบรวมขั้นตอนหรือตัดออก เพื่อทำงานได้รวดเร็วมีรูปแบบการบริการมากขึ้น คุณภาพดีขึ้น วิธีการนี้องค์กรต้องใช้ความพยายามและต้องการแนวความคิดใหม่ในการจัดโครงสร้างการทำงาน
                  4)  Paradigm shifts  คือ การเปลี่ยนแบบถอนรากถอนโคน  เป็นการเปลี่ยนแปลงแนวคิด โดยเปลี่ยนรูปแบบวิธีการที่ดำเนินธุรกิจหรืออาจเปลี่ยนประเภทของธุรกิจก็ได้ 
 2.  การรื้อปรับกระบวนการทางธุรกิจ
        2.1 การออกแบบกระบวนการดำเนินธุรกิจใหม่ (business process reengineering)   จะเป็นกระบวนการทำงานเป็นทีม แทนการทำงานเรียงตามลำดับขั้นตอนแบบเดิม พนักงานในทีมเดียวกันใช้เอกสารร่วมกันได้ สามารถถ่ายโอนเอกสารได้อย่างง่ายดาย เรียกว่าการบริหารกระบวนการทำงาน (workflow management)
โดยใช้ซอฟต์แวร์ (workflow and document management)     เช่น
                -  ใช้เพื่อจัดขั้นตอนการทำงานให้มีประสิทธิภาพ  ลดขั้นตอน ทำงานเป็นทีม
                -  มี software  เช่น  การส่งเอกสารอัตโนมัติ  - จัดตารางนัดหมาย  สร้างรายงานสรุป

       2.2  ขั้นตอนในการออกแบบองค์การที่มีประสิทธิภาพ (steps in effective reengineering)      ขั้นตอนในการออกแบบเริ่มด้วยการกำหนดข้อมูลที่ต้องการนำมาใช้สำหรับกระบวนการทำงานแต่ละชนิด แล้วจึงพิจารณาว่า จะนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาช่วยได้อย่างไร ซึ่งสามารถนำมา สร้างทางเลือกในการออกแบบได้หลายทาง อย่างไรก็ตามไม่ได้หมายความว่าระบบใหม่จะประสบความสำเร็จ องค์การต้องทำให้แน่ใจว่าโครงสร้างเทคโนโลยีสารสนเทศภายในองค์การจะสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงกระบวนการทำงานชึ่งครอบครุมในองค์การ ส่วน TQM จะเน้นการปรับปรุงที่ต่อเนื่อง
2.3           การปรับปรุงประสิทธิภาพกระบวนการทำงาน
            (Process improvement  :  total quality management  - TQM  and Six Sigma)
TQM   คือการควบคุมคุณภาพโดยรวม แบ่งความรับผิดชอบ
Six  sigma  คือการลดของเสีย ลดต้นทุน ปรับปรุงคุณภาพ
1) ทำให้ระบบงานการผลิตมีความง่ายขึ้น เช่น การลดขั้นตอนกระบวนงาน
2) มีความเป็นมาตรฐานตามที่กำหนด (benchmarking) การตรวจสอบการเปรียบเทียบ
3) ใช้ความต้องการของลูกค้าเป็นแนวทางในการปรับปรุงคุณภาพของสินค้า และบริการ
4)            การลดระยะวงรอบการทำงาน เช่น  ตั้งแต่ผลิตสินค้าจนผลิตเสร็จ คือทำงานให้สั้นกว่าเดิม
5) การปรับปรุงคุณภาพและความเที่ยงตรงของการออกแบบ เช่นการใช้ CAD
6) เพิ่มความเที่ยงตรงของสายการผลิต การผลิตให้ได้มาตรฐานลดค่าความแปรปรวนในแต่
       ละขั้นตอนผลิต
3.  การพัฒนาระบบงาน (overview of system development)
      3.1   หลักการของกระบวนการพัฒนาระบบงาน            
1การวิเคราะห์ระบบงาน (Systems analysis)   คือการศึกษาและวิเคราะห์ปัญหาของระบบปัจจุบัน
และนำไปกำหนดความต้องการสำหรับระบบงานใหม่   (Establishing information requirements)    
Who needs  What,  When,  Where, How
             ประกอบด้วย ขั้นตอน การวิเคราะห์ปัญหา   การศึกษาความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ ทางเทคนิค ทางเศรษฐกิจ กำหนดเวลา และกลยุทธ์ขององค์การ การวิเคราะห์ความต้องการของระบบใหม่หรือการวิเคราะห์ความต้องการขององค์การ  และการวิเคราะห์เพื่อตัดสินใจ
        2)  การออกแบบระบบงาน (Systems design) คือ คือการสร้างข้อกำหนดของระบบใหม่ โดยผู้ใช้ควรได้รับการกำหนดบทบาทที่สามารถควบคุมการออกแบบได้ในระดับที่เหมาะสม 
      การออกแบบ ประกอบด้วย การออกแบบผลลัพธ์ การออกแบบข้อมูลนำเข้า  การออกแบบส่วนต่อประสานกับผู้ใช้ การออกแบบฐานข้อมูลและแฟ้มข้อมูล และการประเมินความต้องการด้านฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ และการสื่อสารข้อมูล
1)      กระบวนการพัฒนาระบบงาน  (Systems  development process)  ประกอบด้วย การเขียนโปรแกรม
การทดสอบ การปรับเปลี่ยนระบบเป็นระบบใหม่ และการบำรุงรักษา
                        Programming     การเขียนโปรแกรม
                        Testing     การทดสอบ
                                                -  unit testing                       ทดสอบแต่ละยูนิต
                                                -  system testing                 ทดสอบทั้งระบบ
                                                -  acceptance  testing         ทดสอบเพื่อการยอมรับ
                        Conversion   การปรับเปลี่ยนระบบ
                                                -  plan conversion                ทำแผนการปรับเปลี่ยน
                                                -  prepare documentation    จัดเตรียมเอกสาร
                                                -  train users and technical staff       ฝึกอบรม
                                                 การปรับเปลี่ยนระบบ  มี 4 แบบ
                                                      parallel strategy  (คู่ขนาน),      direct cutover  (เปลี่ยนทันที)
                                                     pilot study(แบบทดลองบางส่วน) ,  phase approach (ถ่ายโอนเป็นช่วง)
                                production  and maintenance  การใช้การบำรุงรักษา
                                                   Operate the system; -  evaluate the system; -  modify the system
3.2  ตัวแบบและการออกแบบระบบ (Modeling   and designing systems)
ระบบงานมีความแตกต่างกันด้าน ขนาด ความซับซ้อนของเทคโนโลยีที่ใช้และแนวทางในการแก้ปัญหา
ที่นิยมใช้กันมีอยู่2 แบบ คือ แบบโครงสร้าง และแบบเชิงวัตถุ (structured and object-oriented approaches)
วิธีการสร้างระบบ  (building approach) ตามหลักการจะแบ่งเป็น 2 แนวทาง คือ
1)               วงจรพัฒนาระบบแบบเดิม (Traditional systems life cycle)
        การพัฒนาวงจรระบบแบบดั้งเดิม (SDLC)  เริ่มจากปี ค.ศ. 1970 เป็นแบบโครงสร้าง จะมีการแบ่งงานระหว่างผู้เกี่ยวข้องอย่าง ชัดเจน เช่น ผู้เขียนโปรแกรม ผู้วิเคราะห์ระบบ ฯลฯ  ซึ่งเป็นวิธีที่มีประโยชน์อย่างมากสำหรับระบบงานใหญ่มีความสลับซับซ้อน มีข้อกำหนดคุณสมบัติต่าง ๆ อย่างเป็นทางการ เป็นขั้นเป็นตอน (step by step) เหมาะสำหรับระบบงานที่มีข้อกำหนดคงที่
2)               การสร้างระบบงานด้วยทางเลือกอื่น (alternative system-building approaches)
                    จัดเป็นการพัฒนาระบบแบบรวดเร็ว มี เครื่องมือและเทคโนโลยีสมัยใหม่ สนับสนุนมาก วิธีการที่ใช้ในการพัฒนาระบบแบบรวดเร็ว อาจใช้การผสมผสานวิธีการต่าง ๆ  และเครื่องมือต่าง ๆ    เข้าด้วยกันสามารถเลือกใช้ได้ตามความจำเป็นและเหมาะสม เช่น การพัฒนาระบบร่วมกัน การจัดทำต้นระบบต้นแบบ การใช้ซอฟต์แวร์เคส และการวิเคราะห์ ออกแบบและเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ
                       (1)  การพัฒนาระบบร่วมกัน (joint application development – JAD)   การพัฒนาระบบร่วมกันหรือ เจเอดี เป็นอีกวิธีหนึ่งของการพัฒนาระบบอย่างรวดเร็ว ระหว่างผู้ใช้ระบบและผู้พัฒนาโดยผู้ใช้และผู้พัฒนาระบบมีส่วนร่วมในการกำหนดความต้องการของระบบร่วมกัน (joint requirement planning – JRP) และออกแบบระบบร่วมกัน (joint application design – JAD)  เพื่อลดเวลา ค่าใช้จ่าย และขั้นตอนการรวบรวมข้อมูล เป็นวิธีที่บริษัทไอบีเอ็มพัฒนาขึ้นในช่วงปลายทศวรรษ1970 และเป็นที่นิยมใช้เป็นเทคนิคในการรวบรวมข้อมูลขององค์กรด้านธุรกิจ  ในการรวบรวมข้อมูลร่วมกัน ผู้ที่เกี่ยวข้องจะต้องมีการวางแผนดำเนินการที่ดีเพราะเป็นกระบวนการที่ต้องใช้เวลา และค่าใช้จ่าย แต่ผลที่ได้ก็จะคุ้มค่า
                การมีส่วนร่วมของผู้ใช้จะเริ่มตั้งแต่การวางแผนกำหนดความต้องการร่วมกันของระบบ (requirement analysis)  การร่วมวิเคราะห์และออกแบบตัวต้นแบบของระบบ  ซึ่งจะเน้นส่วนเชื่อมประสานกับผู้ใช้และการจัดทำรายงาน ซึ่งถ้ามีการวางแผนเตรียมการที่ดีแล้วจะช่วยลดระยะเวลาขั้นตอนการออกแบบได้มาก  ผู้มีส่วนร่วมหรือทีมงานการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อวิเคราะห์ค้นหาข้อเท็จจริงของระบบ
                         (2)  การจัดทำต้นแบบ  (prototyping)  การจัดทำต้นแบบ  คือ การจัดสร้างระบบทดลองหรือระบบต้นแบบก่อนการพัฒนาระบบทั้งหมด ขึ้นมาแล้วให้ผู้ใช้ทำการทดสอบหาข้อบกพร่องและประเมินค่าของระบบ  นำไปปรับปรุง และทดสอบประเมินใหม่วนซ้ำไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะเป็นที่ยอมรับของผู้ใช้จึงนำไปปรับเปลี่ยนเป็นระบบจริง  วิธีนี้ทำให้ผู้ใช้มีส่วนร่วมในการพัฒนาระบบ  เหมาะสมกับสิ่งแวดล้อมที่ไม่สามารถกำหนดความต้องการที่ชัดเจน แน่นอนได้  แม้ว่าจะไม่รวมคุณสมบัติของงานประยุกต์ไว้ทั้งหมดเพราะยังเป็นระบบที่ยังไม่ได้รับการทดสอบอย่างสมบูรณ์  ไม่มีข้อมูลจำนวนมากและครบถ้วนเต็มระบบ  จึงอาจมีข้อบกพร่องได้  แต่ก็สร้างได้อย่างรวดเร็ว และประหยัด  (London and London 2006)
               ขั้นตอนการจัดทำต้นแบบ  ประกอบด้วย  4  ขั้นตอน ได้แก่
                1.    กำหนดความต้องการของระบบขั้นพื้นฐาน  (identify the user’s basic requirements) นักวิเคราะห์ และกลุ่มผู้ใช้ร่วมกันกำหนดความต้องการระบบขั้นพื้นฐานสำหรับผู้ใช้ในกลุ่ม                      
                2.    พัฒนาระบบต้นแบบ  (develop an initial prototype) ระบบต้นแบบถูกพัฒนาขึ้น เช่น รูปแบบของรายงานผลลัพธ์  รูปแบบของการรับข้อมูลเข้า ฯลฯ
                3.    นำระบบต้นแบบไปใช้งาน (use the prototype)  ผู้ใช้จะเป็นผู้ทดลอง  ทดสอบและประเมินประสิทธิภาพ ค้นหาจุดบกพร่องของระบบทดลอง  เพื่อนำไปปรับเปลี่ยนแก้ไขใหม่
                4.    ทบทวนผลการทำงานของระบบต้นแบบ (revise and enhance the prototype๗ ถ้าเป็นที่ยอมรับของผู้ใช้ก็นำไปปรับปรุงใช้กับระบบงานจริง มิฉะนั้นก็จะวนซ้ำกลับไปทำงานในขั้นตอนที่  3 เพื่อนำไปปรับเปลี่ยนแก้ไขใหม่และกลับมาขั้นตอนที่ 4 อีก จนกว่าจะเป็นที่พอใจ
                ข้อดี ของการใช้ตัวต้นแบบ คือ เหมาะสมและมีประโยชน์มากที่สุดกับการที่ไม่สามารถกำหนดความต้องการของระบบที่ชัดเจนได้  ใช้ในสิ่งแวดล้อมที่ไม่แน่นอน ยังไม่รู้ว่าต้องการอะไร การที่ผู้ใช้มีส่วนร่วมทำให้ได้ระบบที่ตรงกับความต้องการของผู้ใช้ได้มากที่สุด
                ข้อด้อย  คือ  การจัดทำระบบอย่างรวดเร็ว อาจจะข้ามขั้นตอนที่สำคัญของการออกแบบระบบ โดยไม่ได้คำนึงถึงการทำงานกับข้อมูลจำนวนมาก เมื่อนำไปใช้งานจริงอาจประสบปัญหาประสิทธิภาพการทำงานของระบบได้
                                (3) การใช้ซอฟต์แวร์ประยุกต์สำเร็จ (Application software packages)  ช่วยขจัดขั้นตอนในการเขียนโปรแกรม ลดค่าใช้จ่ายในการออกแบบ การทดลอง ติดตั้งและการบำรุงรักษา จะเป็นประโยชน์กับองค์กรที่ไม่มีบุคลากรหรืองบประมาณเพียงพอ  ซึ่งส่วนใหญ่จะสนับสนุนระบบงานด้านธุรกิจ สามารถนำมาใช้ หรืออาจต้องปรับแก้บางอย่างให้เข้ากับความต้องการที่เฉพาะเจาะจงของผู้ใช้ จะต้องมีค่าใช้จ่ายเพิ่ม  การจัดหาต้องเขียน        (RFP)           -  Request for proposal
                     ข้อดี        -  เป็นระบบกลาง ๆ   ประหยัดเวลา ค่าใช้จ่าย มีการสนับสนุน การ upgrade
                     ข้อด้อย   ถ้ามีความต้องการเฉพาะเจาะจงเกินไป  ต้องแก้ใหม่ อาจต้องเสียค่าใช้จ่ายมาก
                     (4) การพัฒนาระบบโดยผู้ใช้  (end-user development)  โดยการใช้ ซอฟต์แวร์CASE และภาษาโปรแกรมยุคที่ 4  ประโยชน์คือได้ระบบที่ตรงกับข้อกำหนดและความต้องการของผู้ใช้ แต่การสร้างระบบด้วยด้วยวิธีนี้ทำให้การประมวลผลกระจายไปตามสถานที่ต่าง ๆ ทำให้มีปริมาณข้อมูลจากที่ต่าง ๆ อาจไม่เป็นไปตามเป้าหมาย และยากต่อการควบคุม
                        ข้อดี       -  ผู้ใช้สามารถใช้ภาษายุคที่  4,  ภาษา graphics,  software tools
                        ข้อด้อย   -  ควรมีการควบคุมที่ดี  เฉพาะผู้ใช้อาจพัฒนาที่เครื่องตน อาจมีปัญหา
     (5)  การจ้างบริษัทภายนอกมาพัฒนาระบบ (outsourcing)  วิธีนี้จะลดค่าใช้จ่ายในการพัฒนาลงได้มาก 
แต่ก็มีความเสี่ยงสูงที่องค์กรไม่สามารถควบคุมระบบสารสนเทศได้  และยังต้องพึ่งพิงด้านเทคโนโลยีสารสนเทศมากเกินไป เหมาะกับองค์การขนาดเล็กไม่มีบุคลากรผู้เชี่ยวชาญ
      (6) เครื่องมือและเทคโนโลยีสมัยใหม่  ได้แก่
- ภาษายุคโปรแกรมที่ 4  (fourth generation language)  เป็นภาษาโปรแกรมยุคใหม่ ที่มีลักษณะไร้กระบวนคำสั่ง (nonprocedural language) และเป็นภาษาที่ใกล้เคียงกับภาษามนุษย์อย่างมาก  ทำให้การเขียนโปรแกรมทำได้สะดวก ไม่ต้องใช้เวลานาน ส่วนมากใช้กับระบบฐานข้อมูล  ซึ่งได้แก่

                       ภาษาสอบถาม (query language) เป็นภาษาสำหรับค้นคืนข้อมูลจากฐานข้อมูล มักเป็นการใช้
                              งานเชิงโต้ตอบ  คือ มีการถาม-ตอบระหว่างคอมพิวเตอร์ทันที    
                       โปรแกรมช่วยสร้างรายงาน (report generator) ช่วยสร้างแบบฟอร์มรายงานต่าง ๆ      
                      ภาษากราฟิก (graphics language) ช่วยแสดงสารสนเทศในรูปแบบกราฟิก
                       โปรแกรมสนับสนุนการประยุกต์งาน เช่น ระบบจัดการฐานข้อมูล
                       โปรแกรมช่วยสร้างเว็บไซต์ และโปรแกรมสำเร็จ (software package) สำหรับประยุกต์งานเฉพาะ
                            ซอฟต์แวร์สำหรับการทำงานบนเครือข่ายเวิลด์ไวด์เว็บ เช่น ดรีมวีฟเวอร์ (Dreamweaver)           ซึ่งช่วยพัฒนาเว็บโดยใช้ภาษาเอชทีเอ็มแอล (Hypertext Markup Language – HTML) สำหรับแสดงเอกสารเว็บแต่ละหน้า  หรือการใช้เอ็กซ์เอ็มแอล (Extensible Markup Language -- XML) ซึ่งสามารถกำหนดนิยามความหมายของข้อมูลได้อย่างยืดหยุ่นขึ้น
                  -  การโปรแกรมแบบวิชวล  (visual programming) ช่วยสนับสนุนการสร้างส่วนต่อประสานกับผู้ใช้ การทำรายงาน และอื่น ๆ เช่น Visual Basic, PowerBuilder, และ Delphi
                  -  การใช้ซอฟต์แวร์เคส  (computer-aided software engineering – CASE)
ซอฟต์แวร์เคส เป็นซอฟต์แวร์สำเร็จที่ช่วยสนับสนุนการพัฒนาระบบสารสนเทศ ที่ช่วย พัฒนา
โปรแกรม และสร้างแบบฟอร์มต่างๆ ให้มีมาตรฐาน ถือเป็นเครื่องมือที่ช่วยอำนวยความสะดวก เพิ่มประสิทธิภาพทำให้มีมาตรฐานและมีโครงสร้างที่ดี อุปสรรคก็คือมีราคาสูง ต้องใช้เวลาฝึกอบรมในการใช้ค่อนข้างมาก องค์กรส่วนใหญ่ยังไม่มีมาตรฐานของการนำมาประยุกต์ใช้ที่ชัดเจน ซอฟต์แวร์เคส เช่น Oracle’s Developer 2000, Rational ROSE, Visio
ตัวอย่างจาก Table 14.5 (p. 491)
              PC software tools       เช่น      WordPerfect,  Microsoft Access
              Query language                      SOL
               Report generator                   Crystal Reports
              Graphics language                 SAS Graph, Systat
              Application generator            FOCUS, PowerBuilder,  Microsoft FrontPage
              Application software package    PeopleSoft HRM, SAP R/3
              Very high-level programming language   APL, Nomad2
               การวิเคราะห์ ออกแบบ และเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ หรือโอโอเอดี (object-oriented analysis and design – OOAD) มองระบบเป็นกลุ่มของวัตถุ ในปัจจุบันใช้วิธีนี้มากทั้งการวิเคราะห์ ออกแบบ และโปรแกรม  การพัฒนาโปรแกรมเชิงวัตถุ เป็นการใช้แนวคิดในการวิเคราะห์ ออกแบบ และเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ มีเครื่องมืออัตโนมัติช่วยสนับสนุนมากในทุกขั้นตอน 
                      (1)  Object – oriented development  การพัฒนาระบบงานเชิงวัตถุ  เป็นการมองระบบงานเสมือนวัตถุที่ประกอบด้วยข้อมูลและการทำงานกับข้อมูลนั้น ที่นำมารวม การพัฒนาซอฟต์แวร์เชิงวัตถุจะช่วยลดระยะเวลาและค่าใช้จ่ายในการพัฒนาโปรแกรม และการแก้ไขโปรแกรมในภายหลัง  เนื่องจากวัสดุแต่ละตัวจะสามารถนำไปใช้งานอื่นได้  เฉพาะมีรูปแบบมาตรฐานอยู่แล้วนำมาดัดแปลงให้เหมาะสมกับงานเฉพาะด้านได้ใหม่
จึงมีการพัฒนาแบบรวมองค์ประกอบของงานเข้าด้วยกัน (component-based development)
                           (2) Rapid application development – RAD  การพัฒนาระบบงานร่วมกัน หรือ เจเอดี (Joint Application Development-- JAD) ระหว่างผู้ใช้ระบบและผู้พัฒนา
(3)       Web services and service-oriented computing  เว็บบริการ   การใช้เว็บบริการ เป็นเทคโนโลยีที่
ทันสมัยที่สุดในปัจจุบันที่พยายามพัฒนากลไกมาตรฐานในการติดต่อข้ามองค์การไปยังระบบคอมพิวเตอร์ที่แตกต่างกันเป็นการผสมผสานการใช้ protocol หลาย protocol ที่เป็นมาตรฐานเปิด  เทคโนโลยี web service ขึ้นอยู่กับเทคโนโลยีพื้นฐาน 3 ประเภท คือ SOAP, WSDL, และ UDDI
                1.  เทคโนโลยี SOAP (Simple Object Access Protocol) พัฒนามาจากมาตรฐาน protocol XML สำหรับการสื่อสารข้อความบน Internet แต่ทำให้ง่ายและมีขนาดเล็กลงโดยบริษัท IBM และ Microsoft โดยผสมการใช้ protocol HTTP, protocol FTP, protocol RMI/IIOP   Remote Method Invocation /Internet Inter-Object Request Broker Protocol) และ protocol message queue ซึ่งใช้สำหรับจัดแถวคอยข้อความ
                2.  เทคโนโลยี WSDL (Web Services Description Language) ใช้ protocol XML ทำให้ web service สามารถอธิบายรายละเอียดการให้บริการและการเรียกใช้บริการได้ ทำให้ระบบประยุกต์งานของผู้ให้บริการและผู้ใช้บริการสามารถติดต่อสื่อสาร และทำงานร่วมกันได้
                3.  เทคโนโลยี UDDI (Universal Description, Discovery and Integration) เป็นระบบกลไกสำหรับการเก็บคำอธิบายทั้งหมดของ web service ซึ่งใช้มาตรฐานการเก็บข้อมูลเป็นแบบไดเร็กทอรี (directory) เช่น ซื้อ เจ้าของธุรกิจที่ให้บริการรายการคุณสมบัติและลักษณะบริการ
                       การทำงานของเว็บบริการ  จำแนกได้ดังนี้
                1.  ส่วนตัวแทน (service broker) เป็น web site ที่ลงทะเบียน web service (web service registry) จาก web site ของผู้ให้บริการใน Internet เหมือนรายการในสมุดโทรศัพท์หน้าเหลือง โดยผู้ให้บริการจะใช้มาตรฐาน UDDI อธิบายบริการต่าง ๆ
                2.  ส่วนผู้ให้บริการ (service provider) คือ ธุรกิจประเภทต่าง ๆ ที่มี web site ให้บริการบน Internet
3.          ส่วนผู้ขอใช้บริการ (service requester) คือ ผู้ใช้บริการที่มีระบบประยุกต์งานธุรกิจ ระบบกลไกด้าน
search engine หรือระบบตลาดอิเล็กทรอนิกส์โดยใช้มาตรฐาน UDDI และ WDDL เมื่อผู้ใช้บริการรู้ตำแหน่งวิธีการติดต่อเชื่อมโยงกับระบบประยุกต์งานของผู้ให้บริการ ก็จะทำการติดต่อสื่อสารระหว่างกันโดยใช้มาตรฐาน SOAP
           ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์
(1)    ปัจจัยด้านการแข่งขัน - อัตราการขยายตัวของธุรกิจในอนาคต  แนวโน้มควรปรับตัวของลูกค้า ฯลฯ
(2)  ปัจจัยด้านลูกค้า/ผู้บริโภค - ความคาดหวังของลูกค้าและบริการที่มีการเพิ่มมูลค่า  การจัดส่งสินค้า ฯ
(3)       ปัจจัยด้านกฎหมาย กฎระเบียบ - กฎหมายการค้าระหว่างประเทศ   การกีดกันทางการค้า ฯลฯ
(4)        ปัจจัยด้านเทคโนโลยี -    แนวโน้มของเทคโนโลยีในอนาคต ฯลฯ
(1)       องค์ประกอบพื้นฐานของ web site
       ชื่อ web  site, home page, web page
(2)       หลักการพื้นฐานในการออกแบบ web site
      web page แต่ละหน้า ต้องมีประสิทธิภาพ            web page มีรูปแบบง่าย ไม่ซับซ้อน
      web page ควรใช้เนื้อที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด     web page ควรมีรายการที่ดึงดูดลูกค้าให้แวะเข้าชม
      การใช้ table และ font สำหรับข้อมูลที่เป็นข้อความ
      การเลือกใช้ภาพ graphic ที่เหมาะสม
      การมีสารสนเทศที่เพียงพอสำหรับสั่งซื้อสินค้าและบริการ
      การรวบรวมข้อมูลสำหรับติดตามลูกค้า      
4.  ทบทวนการพัฒนาระบบสารสนเทศ
             เมื่อกำหนดระบบสารสนเทศที่ต้องการขององค์การได้แล้ว ขั้นตอนต่อไป  คือ การพัฒนาระบบ (system development)  หากมีระบบเดิมอยู่แล้ว อาจปรับปรุงจากระบบเก่า หรือจัดทำระบบใหม่ทั้งหมด การตัดสินใจเลือกวิธีการพัฒนาระบบสารสนเทศต้องพิจารณาว่า  ระบบงานแต่ละระบบมีความแตกต่างกันด้าน ขนาด ความซับซ้อนของเทคโนโลยีที่ใช้ ตลอดจนทางเลือกในการพัฒนา        ปัจจัยสำคัญในการพัฒนาระบบสารสนเทศ   ได้แก่
1)            การสนับสนุนจากฝ่ายบริหารองค์การ
2)            การกำหนดกลยุทธ์สารสนเทศ
3)            การปรับตัวขององค์การและบุคลากรในองค์การ
4)            การเตรียมความพร้อมด้านทรัพยากรและโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศ
5)            การจัดตั้ง และคัดเลือกบุคลากรเพื่อการบริหารและพัฒนาระบบสารสนเทศ
6)            การเลือกเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาระบบ
7)            การบริหารโครงการเพื่อการพัฒนาระบบ
                การจัดการโครงการเป็นอีกเทคนิคหนึ่งที่นำมาใช้ในการพัฒนาระบบ  เพราะการพัฒนาระบบเกี่ยวข้องกับทรัพยากร  กำลังคน งบประมาณ และเวลา ซึ่งจะต้องมีการวางแผนและการจัดการที่ดี  เพื่อให้โครงการแล้วเสร็จทันเวลา และได้ประโยชน์คุ้มค่า ในโครงการหนึ่ง ๆ จะประกอบไปด้วยกิจกรรมต่าง ๆ และมีขั้นตอนการดำเนินงานที่ซับซ้อน หากมีปัญหาเกิดขึ้นที่ขั้นตอนใดก็จะมีผลกระทบขั้นตอนอื่นด้วย                   ขั้นตอนการจัดการโครงการ จำแนกได้เป็น                 การกำหนดโครงการ  การวางแผนโครงการ  การบริหารโครงการ  การควบคุมโครงการ  การปิดโครงการ      
              ตัวอย่าง  การบริหารโครงการเพื่อการพัฒนาระบบสารสนเทศ
        จัดตั้งองค์การเพื่อการบริหารและพัฒนาระบบสารสนเทศ โดยมีบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบ
ของกลุ่มบุคลากรเพื่อการบริหารและพัฒนาระบบ สามารถทำได้จากรูปแบบต่าง ๆ ดังนี้
1)            คณะกรรมการบริหารโครงการ
2)            ผู้จัดการโครงการ
3)            ที่ปรึกษาโครงการ
4)            กลุ่มผู้สนับสนุนโครงการ
5)            คณะทำงาน กลุ่มผู้พัฒนาระบบ และตัวแทนผู้ใช้ระบบ
  ซึ่งการบริหารโครงการเพื่อการพัฒนาระบบสารสนเทศ  ประกอบด้วย กระบวนการต่าง ๆ ได้แก่
1)    การวางแผนการพัฒนาระบบสารสนเทศ       (planning)
2)    การติดตามผลการพัฒนาระบบสารสนเทศ    (tracking)
3)    การทบทวนผลการพัฒนาระบบ                       (reviewing)
4)    การควบคุมการพัฒนาระบบ                             (controlling)
                      การควบคุมการเปลี่ยนแปลง               (change control)
                      การควบคุมคุณภาพ                               (quality control)
       เทคนิค  ที่ใช้ในการจัดการโครงการ  ได้แก่
                2.1  แผนภูมิแกนท์ (Gantt chart)   เป็นเทคนิคการจัดทำตารางแสดงความสัมพันธ์ระหว่าง      กิจกรรมต่าง ๆ และระยะเวลาที่ใช้ในกิจกรรม ใช้เป็นเครื่องมือช่วยวางแผนและกำหนดเวลาในการทำงานของโครงการ  ช่วยตรวจสอบความก้าวหน้าของงาน และง่ายต่อการจัดทำ ข้อจำกัด คือ แผนภูมิแกนท์ไม่สามารถประเมินผลการเรื่องงานหรือประเมินความล่าช้าหรือกิจกรรมที่ต้องควบคุมอย่างใกล้ชิด
                2.2  เพิร์ท/ซีพีเอ็ม (program evaluation and review technique – PERT /critical path method – CPM)  เป็นเทคนิคการวิเคราะห์ข่ายงานที่ใช้เป็นเครื่องมือสำหรับวางแผนและควบคุมให้งานต่าง ๆ เสร็จทันตามกำหนดเวลา โดยจะแสดงความสัมพันธ์ของสายงานกิจกรรมต่าง ๆ ระบุความสำคัญของกิจกรรมตามลำดับก่อนหลัง ระยะเวลาที่ต้องใช้ของแต่ละสายงาน และคำนวณหาสายงานวิกฤตที่โครงการจะต้องแล้วเสร็จภายในเวลา                               


การจัดการระบบบสารสนเทศระหว่างประเทศ

1.     การเติบโตของระบบสารสนเทศระหว่างประเทศ  (The growth of international information systems) การเปลี่ยนแปลงในองค์การระดับโลกที่เกิดจากความก้าวหน้าของ IT ที่สำคัญ  2  ประการ คือ การเปลี่ยนจากเศรษฐกิจอุตสาหกรรมและสังคมไปเป็นเศรษฐกิจที่ใช้สารสนเทศ และความรู้ เป็นพื้นฐาน      
และการเกิดขึ้นของเศรษฐกิจโลกและการจัดระเบียบโลกใหม่  การเติบโตของการค้าระหว่างชาติ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจของท้องถิ่น    เช่น ผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์  สร้างมาจากหลายที่ จากหลายๆ บริษัท ตัวอย่าง Hewlett-Packard มีสำนักงานใหญ่ในสหรัฐอเมริกา การออกแบบตัว server เริ่มออกแบบใน  Singapore และอนุมัติจากสำนักงานใหญ่ และใช้การผลิตและประกอบใน Singapore, China, India, Taiwan และ Australia  หรือ บางบริษัท
                        -  CPU           สร้างใน                 US
                        -  DRAM      สร้างใน                 Malaysia              
                        -  Screen       สร้างใน                 Japan
                        -  key board  สร้างใน               Taiwan
         1.1  การพัฒนาสถาปัตยกรรมระบบสารสนเทศระหว่างประเทศ  (Developing an international IS architecture) 
                การพัฒนาสถาปัตยกรรมระบบสารสนเทศระหว่างประเทศ พัฒนามาจากพื้นฐานระบบสารสนเทศที่ต้องการสำหรับองค์การเพื่อประสานงานการค้าระดับโลก และกิจกรรมอื่น ๆ  ซึ่งจะต้องเข้าใจสิ่งแวดล้อมที่องค์การเผชิญอยู่  และมาจากแรงดันผลักดันทางธุรกิจ (business driver)   ซึ่งองค์การจะต้องตอบสนองต่อทิศทางของธุรกิจ  ความท้าทาย ปัญหาอุปสรรค เพื่อพิจารณา กลยุทธ์ขององค์การที่จะใช้แข่งขันในสิ่งแวดล้อม  และจัดสร้างโครงสร้าง  องค์การเพื่อสนับสนุนกลยุทธ์  คือ การออกแบบกระบวนการทางธุรกิจ  และเทคโนโลยีพื้นฐาน               รูปแบบสถาปัตยกรรม ตามลำดับ          
           1.2    สิ่งแวดล้อมโลก  แรงผลักดัน และความท้าทายทางธุรกิจ   (The global  environment  :  business drivers &  business drivers and challenges ) ปัจจัยด้านแรงผลักดันทางธุรกิจ แบ่งได้เป็น 2 ประเด็น คือ
               1ปัจจัยด้านวัฒนธรรมทั่วไป
                         - เทคโนโลยีการสื่อสารและการขนส่งโลก       
                           ทำให้เกิดการเชื่อมโยงถึงกันทั่วโลก และมีค่าใช้จ่ายถูกลงมาก  เช่น ระบบออนไลน์
     -   เกิดวัฒนธรรมโลก 
           สื่อวิทยุโทรทัศน์ ฯลฯ  ทำให้เกิดการเข้าใจและลดระดับความแตกต่างด้านวัฒนธรรม                                
     การเกิดบรรทัดฐานของสังคมโลก
                      -  เสถียรภาพทางการเมือง
                           -  ฐาน ความรู้โลก   เกิดการพัฒนาด้านการศึกษา การอุตสาหกรรม
                  2)  ปัจจัยทางธุรกิจ  เกิดความต้องการพัฒนาระบบสารสนเทศที่สามารถทำงานร่วมกันได้ทั่วโลก  เช่น  ฝ่ายตลาด  ฝ่ายขาย  อยู่ที่  นิวยอรค์  แต่ ฝ่ายผลิต  อยู่ที่  Asia  สำหรับปัจจัยทางธุรกิจ ได้แก่
                -  ตลาดโลก
                -  ผลิตภัณฑ์  และกระบวนการผลิตการปฏิบัติงานระหว่างประเทศ
                -  การประสานงานระหว่างประเทศ
                -  แรงงานโลก    
                -  ขนาดของเศรษฐกิจโลก
       1.3  ความท้าทายทางธุรกิจ (business challenges)
                 1ความท้าทายทั่วไป
                  2ความท้าทายเฉพาะ

                       ความท้าทายและอุปสรรคของระบบธุรกิจระหว่างประเทศ  จำแนกได้เป็น
                        วัฒนธรรมเฉพาะ  :  ภาค, ชาติ, ความแตกต่างด้านภาษา
                        ความคาดหวังด้านสังคม  ความหวังของยี่ห้อสินค้าชั่วโมงทำงาน
                        กฎหมาย   : การถ่ายทอดข้อมูล  กฏหมายสิทธิส่วนบุคคล  กฎเกณฑ์การค้า
                        มาตรฐาน :  EDI,  e-mail  telecommunication
                       ความเชื่อถือได้  : ระบบเครือข่ายโทรศัพท์ ยังไว้วางใจไม่ได้
                        ความเร็ว  :การส่งผ่านแตกต่างกัน
                       บุคลากร : การขาดแคลนที่ปรึกษาที่มีความเชี่ยวชาญ
                  3)  สภาพแห่งศิลป์ (state of the art)  ความยากลำบากในการจัดสร้างสถาปัตยกรรมระบบสารสนเทศระหว่างประเทศ ที่เหมาะสม เกี่ยวข้องกับ การวางแผนระบบที่เหมาะสมกับกลยุทธ์ระดับโลก
การจัดโครงสร้างองค์การสำหรับระบบและหน่วยธุรกิจ แนวทางการนำระบบไปใช้ปฎิบัติ  การเลือกประเภทของเทคโนโลยีที่ต้องกับการใช้งานในองค์การ

2.     การจัดโครงสร้างระบบสารสนเทศระหว่างประเทศ  (Organizing international information systems)     
        โครงสร้างองค์การโดยทั่วไปจัดเป็น 3 ประเภท คือ              
         แบบรวมศูนย์ (centralized organizational structure)  มักใช้ในประเทศเจ้าของ
         แบบกระจายศูนย์ (decentralized  organizational structure)  ใช้ในประเทศที่เป็นสาขา
         แบบประสานงาน (coordinated organizational structure)  )  ทุกสาขามีส่วนร่วมเท่าเทียมกัน
        2.1  กลยุทธ์โลกและองค์การธุรกิจ (Global strategies and business organization)
               1. domestic exporter  พัฒนาระบบในประเทศและควบคุมการใช้ทุกสาขาทั่วโลก     
                              -  รวบรวมกิจกรรมทั้งหมดมาทำงานที่สำนักงานใหญ่ แบบรวมศูนย์
                               - รวมทั้ง นโยบาย และกลยุทธ์
                                  (องค์การข้ามชาติเกือบทั้งหมดใช้วิธีนี้) (เช่น  บ. Caterpillar)
        2.  multinational   พัฒนาระบบขึ้นใช้เองตามความเหมาะสมของแต่ละประเทศ 
                                  - แยกด้านการเงิน และการควบคุม ได้ที่สำนักงานใหญ่
                                 -  การผลิต  การขาย  การตลาด การบริหาร จัดให้เหมาะสมกับเงื่อนไขตลาดท้องถิ่น
        3.  franchisers   สำนักงานใหญ่ใหญ่จะสำเนา ไปให้สาขาใช้                               
                                    -  ผสมระหว่างระบบเก่าและระบบใหม่
                                    - ใช้รูปแบบสินค้า และบริการในประเทศต้นแบบ และให้แต่ละท้องถิ่น วางแผน          
                                  การตลาด การใช้ทรัพยากร  การควบคุมวัตถุดิบก็ยังคงเข้มงวด เพื่อเป็นมาตรฐาน
        4.  transnational  ใช้เสมือนเป็นระบบงาน     
                       - องค์การที่ไม่มีประเทศแม่  อาจเลือกสำนักงานใหญ่ที่ประเทศใดก็ได้                                       
  เชื่อมโยงผ่านเครือข่าย มีกลุ่มผู้บริหาร มีสำนักงาน สาขา กระจายทั่วโลกเช่นเดียวกันFord

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น