Winnie The Pooh Glitter

บทที่ 10 การสืบค้นข้อมูลด้วยอินเทอร์เน็ตและจริยธรรมการใช้คอมพิวเตอร์

เครือข่ายอินเทอร์เน็ต

          1.  ความหมายของอินเทอร์เน็ต
          อินเทอร์เน็ตคือระบบเครือข่ายของข้อมูลและคอมพิวเตอร์  สาธารณะขนาดใหญ่ที่เกิดจากระบบเครือข่ายขนาดเล็กๆ หลายๆ เครือข่ายที่อาศัยมาตราฐานการเชื่อมต่อแบบเดียวกัน  ต่อเชื่อมเข้าหากันเพื่อให้บริการ  โดยไม่มีใครเป็นเจ้าของหรือผู้ดูแลอินเทอร์เน็ตแต่เพียงผู้เดียว
       
          2.  ประวัติและความเป็นมาของระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
          จุดกำเนิดเริ่มแรกของอินเทอร์เน็ต  เกิดขึ้นจากวัตถุประสงค์ทางการทหารและความมั่นคงของประเทศสหรัฐอเมริกา  เพื่อให้สามารถเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์เข้าากัน  แม้จะมีระบบที่แตกต่างกันและสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลเข้ากันได้แม้ว่าเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องใดเครื่องหนึ่งในระบบที่ต่ออยู่ไม่สามารถใช้งานได้  และการพัฒนาการของระบบก็มีมาอย่างต่อเนื่องดังนี้
                พ.ศ.2512  หน่วยงาน  ARPA (Advance  Research Project Agency ) ซึ่งเป็นผู้ที่ดำเนินการวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์ของสหรัฐฯ  ได้ริเริ่มโครงการที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์  มีชื่อโครงการว่า  ARPANet  ผู้ที่ทำโครงการนี้ก็คือผู้เชี่ยวชาญที่อยู่ในมหาวิทยาลัยที่ร่วมโครงการ  ในระยะแรกใช้สายโทรสัพท์ในการต่อเชื่อมผ่านโปรโตคอล (protocol)  NCP (Network Control Protocol )  และจำกัดจำนวนเครื่องที่สามารถต่อเข้าในระบบด้วย
               พ.ศ.2514  มีการสร้างโปรแกรมรับส่ง  e-mail  เพื่อสื่อสารกันระหว่างระบบเครื่อข่ายต่างๆ
               พ.ศ.2516  ARPANet  ได้เชื่อต่อไปยังประเทศอังกฤษและนอร์เวย์
               พ.ศ.2525  ARPANet  เปลี่ยนจาก  NCP  มาเป็น TCP/IP (Transmission Control Protocol/Internet Protocol)
               พ.ศ.2527  มีการเริ่มใช้ระบบ  DNS (Domain Name Sever)
               พ.ศ.2529  ก่อตั้ง NSFNET (National Science Foundation Network) มีความเร็ว 56 Kbps.  เพื่อเชื่อมต่อเครื่อง supercomputer  จากสถาบันต่างๆเข้าด้วยกัน  และได้เชื่อว่าเป็น backbone ที่สำคัญของระบบอินเทอร์เน็ต
               พ.ศ.2530  หน่วยงาน Merit Network ได้เข้ามาเป็นผู้ดูแล  NSFNET
               พ.ศ.2532  NSFNET  เพิ่มความเร็วเครือข่าย 1.544 Mbps จำนวนเครื่องที่เชื่อมต่อเข้าสู่อินเทอร์เน็ตก็เพิ่มขึ้นเป็น 100,000  เครื่อง
               พ.ศ.2533  ARPANet  หยุดดำเนินการ
               พ.ศ.2534  มีการก่อตั้ง NERN (National Research and Education Network) จำนวนเครื่องที่ต่อเชื่อมเข้าสู่อินเทอร์เน็ตมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจาก 376,000  เครื่องในเดือนมกราคมเป็น 617,000  เครื่องในเดือนตุลาคม
                พ.ศ.2535  มีการเริ่มใช้ www ที่ CERN (the European Laboratory for particle Physics) NSFNET  เพิ่มความเร็วเป็น 44,736 Mbps  จำนวนเครื่องที่ต่อเชื่อเข้าสู่อินเทอร์เน็ตเพิ่มขึ้นถึง 1,000,000  เครื่อง
                พ.ศ.2536  NSF  ก่อตั้ง  interNIC  เพื่อเป็นผู้ดำเนินการเรื่องการแจกจ่ายชื่อโดเมน  บริษัทและผู้สนใจต่างๆ  เริ่มเชื่อมต่อตัวเองเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ต
                พ.ศ.2537  NCSC  (National Center for Computing at University of lllinois)  สร้างโปรแกรม  Mosaic  เป็นโปรแกรม  Web browser  เริ่มมีการทำการค้าขายผ่านอินเทอร์เน็ต  และมีโปรแกรมที่ช่วยสำหรับค้นหาข้อมูลที่เกิดขึ้น
                พ.ศ.2538  ยกเลิกโครงการ  NSFNET  และเปลี่ยนไปลงทุนกับโครงการ vBNS (Very-High-Speed  Backbone Network Service)  เพื่อเป็น backbone  ให้แก่อินเทอร์เน็ตในอนาคต

            3.  พื้นฐานการทำงานของระบบอินเทอร์เน็ต
            ระบบอินเทอร์เน็ตในปัจจุบันนั้นอาศัยโปรโตคอล TCP/IP  เป็นหลัก  สิ่งสำคัญที่ควรทราบเกี่ยวกับโปรโตคอล TCP/IP  ก็คือ   การต่อเครื่องเชื่อมเข้าสู่ระบบเครือข่ายที่เป็น   TCP/IP  นั้นทุกเครื่องจะต้องมีหมายเลขกำกับเสมอเพื่อระบุแหล่งที่มาของข้อมูลหมายเลขที่กำกับนี้มีชื่อว่าหมายเลข IP  หมายเลขนี้จะเป็นเลขฐาน 2 ขนาด 32  บิตสามารถเขียนได้เป็นเลขฐาน 2 จำนวน 4 ชุดแยกจากกัน   โดยใช้จุดคั่นเลขแต่ละชุดสามารถ  สามารถเปลี่ยนได้ตั้งแต่ 0-255  เช่น 192.150.249.11,64.4.43.7 เป็นต้น
         11111111    .    11111111    .    11111111    .     111111112
         255            .    255           .     255           .      255




อินเตอร์เน็ตในประเทศไทย

    ประเทศไทยได้เริ่มติดต่อกับอินเทอร์เน็ตในปี พ.ศ. 2530 ในลักษณะการใช้บริการ จดหมายเล็กทรอนิกส์แบบแลกเปลี่ยนถุงเมล์เป็นครั้งแรก โดยเริ่มที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ (Prince of Songkla University) และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชียหรือสถาบันเอไอที (AIT) ภายใต้โครงการความร่วมมือระหว่างประเทศไทยและออสเตรเลีย (โครงการ IDP) ซึ่งเป็นการติดต่อเชื่อมโยงโดยสายโทรศัพท์ จนกระทั่งปี พ.ศ. 2531 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ ได้ยื่นขอที่อยู่อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย โดยได้รับที่อยู่อินเทอร์เน็ต Sritrang.psu.th ซึ่งนับเป็นที่อยู่อินเทอร์เน็ตแห่งแรกของประเทศไทย ต่อมาปี พ.ศ. 2534 บริษัท DEC (Thailand) จำกัดได้ขอที่อยู่อินเทอร์เน็ตเพื่อใช้ประโยชน์ภายในของบริษัท โดยได้รับที่อยู่อินเทอร์เน็ตเป็น dect.co.th โดยที่คำ “th” เป็นส่วนที่เรียกว่า โดเมน (Domain) ซึ่งเป็นส่วนที่แสดงโซนของเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย โดยย่อมาจากคำว่า Thailand
กล่าวได้ว่าการใช้งานอินเทอร์เน็ตชนิดเต็มรูปแบบตลอด 24 ชั่วโมง ในประเทศไทยเกิดขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อเดือน กรกฎาคม ปี พ.ศ. 2535 โดยสถาบันวิทยบริการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้เช่าวงจรสื่อสารความเร็ว 9600 บิตต่อวินาที จากการสื่อสารแห่งประเทศไทยเพื่อเชื่อมเข้าสู่อินเทอร์เน็ตที่บริษัท ยูยูเน็ตเทคโนโลยี (UUNET Technologies) ประเทศสหรัฐอเมริกา
ในปีเดียวกัน ได้มีหน่วยงานที่เชื่อมต่อแบบออนไลน์กับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตผ่านจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หลายแห่งด้วยกัน ได้แก่ สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) มหาวิทยาลัยมหิดล สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า วิทยาเขตเจ้าคุณทหารลาดกระบัง มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญบริหารธุรกิจ โดยเรียกเครือข่ายนี้ว่าเครือข่าย “ไทยเน็ต” (THAInet) ซึ่งนับเป็นเครือข่ายที่มี “ เกตเวย์ “ (Gateway) หรือประตูสู่เครือข่ายอินเทอร์เน็ตเป็นแห่งแรกของประเทศไทย (ปัจจุบันเครือข่ายไทยเน็ตประกอบด้วยสถาบันการศึกษา 4 แห่งเท่านั้น ส่วนใหญ่ย้ายการเชื่อมโยงอินเทอร์เน็ตโดยผ่านเนคเทค (NECTEC) หรือศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ)


              ปี พ.ศ.  2535 เช่นกัน เป็นปีเริ่มต้นของการจัดตั้งกลุ่มจดหมายอิเล็กทรอนิกส์เพื่อการศึกษาและวิจัยโดยมีชื่อว่า "เอ็นดับเบิลยูจี" (NWG : NECTEC E-mail Working Group) โดยการดูแลของเนคเทค และได้จัดตั้งเครือข่ายชื่อว่า "ไทยสาร" (ThaiSarn : Thai Social/Scientific Academic and Research Network) เพื่อการติดต่อสื่อสารและแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารระหว่างกัน โดยเริ่มแรกประกอบด้วยสถาบันการศึกษา 8 แห่ง ปัจจุบันเครือข่ายไทยสารเชื่อมโยงกับสถาบันต่างๆ กว่า 30 แห่ง ทั้งสถาบันการศึกษาและหน่วยงานของรัฐ
         ปัจจุบันได้มีผู้รู้จักและใช้อินเทอร์เน็ตมากขึ้น มีอัตราการเติบโตมากกว่า 100 % สมาชิกของอินเทอร์เน็ตขยายจากอาจารย์และนิสิตนักศึกษาในระดับอุดมศึกษาไปสู่ประชาชนทั่วไป



ความหมายของ Search Engine




Search Engineคือ เครื่องมือการค้นหาข้อมูลผ่านอินเตอร์เน็ต ที่ทุกคนสามารถเข้าไปค้นหาข้อมูลผ่านอินเตอร์เน็ตก็ได้ โดย กรอก ข้อมูลที่ต้องการค้นหา หรือ Keyword (คีเวิร์ด) เข้าไปที่ช่อง Search Box แล้วกดEnter แค่นี้ข้อมูลที่เราค้นหาก็จะถูกแสดงออกมาอย่างมากมายก่ายกอง เพื่อให้เราเลือกข้อมูลที่เราโดนใจที่สุดเอามาใช้ งาน โดยลักษณะการแสดงผลของ Search Engine นั้นจะทำการแสดงผลแบบ เรียงอันดับ Search Results ผ่านหน้าจอคอมพิวเตอร์ของเรา


ประเภทของ Search Engine

Search Engine  มี 3 ประเภท  (โดยทั่ว ๆ ไปแล้วจะมีการแบ่งออกเป็นหลาย ๆ ประเภทด้วยกัน แต่ที่พอสรุปได้เพียง 3  ประเภทหลักๆ ดังที่จำนำเสนอต่อไปนี้)
ประเภทที่ 1 Crawler Based Search Engines
Crawler Based Search Engines คือ เครื่องมือการค้นหาบนอินเตอร์เน็ตแบบอาศัยการบันทึกข้อมูล และ จัดเก็บข้อมูลเป็นหลัก ซึ่งจะเป็นจำพวก Search Engine ที่ได้รับความนิยมสูงสุด เนื่องจากให้ผลการค้นหาแม่นยำที่สุด และการประมวลผลการค้นหาสามารถทำได้อย่างรวดเร็ว จึงทำให้มีบทบาทในการค้นหาข้อมูลมากที่สุดในปัจจุบัน
โดยมีองประกอบหลักเพียง 2 ส่วนด้วยกันคือ
1. ฐานข้อมูล โดยส่วนใหญ่แล้ว Crawler Based Search Engine เหล่านี้จะมีฐานข้อมูลเป็นของตัวเอง ที่มีระบบการประมวลผล และ การจัดอันดับที่เฉพาะ เป็นเอกลักษณ์ของตนเองอย่างมาก
2. ซอฟแวร์ คือเครื่องมือหลักสำคัญที่สุดอีกส่วนหนึ่งสำหรับ Serch Engine ประเภทนี้ เนื่องจากต้องอาศัยโปรแกรมเล็ก ๆ (ชนิดที่เรียกว่า จิ๋วแต่แจ๋ว) ทำหน้าที่ในการตรวจหา และ ทำการจัดเก็บข้อมูล หน้าเพจ หรือ เว็บไซต์ต่าง ๆ ในรูปแบบ ของการทำสำเนาข้อมูล เหมือนกับต้นฉบับทุกอย่าง ซึ่งเราจะรู้จักกันในนาม Spider หรือ Web Crawler หรือ Search Engine Robots
          ตัวอย่างหนึ่งของ Crawler Based Search Engine ชื่อดังhttp://www.google.com


Crawler Based Search Engine ได้แก่อะไรบ้าง
จะยกตัวอย่างคร่าว ๆ ให้ได้เห็นกันเอาแบบที่เรา ๆ ท่าน ๆ รู้จักหนะครับก็ได้แก่? Google , Yahoo, MSN, Live, Search, Technorati (สำหรับ blog)?ครับ ส่วนลักษณะการทำงาน และ การเก็บข้อมูงของ Web Crawler หรือ Robot หรือ Spider นั้นแต่ละแห่งจะมีวิธีการเก็บข้อมูล และ การจัดอันดับข้อมูลที่ต่างกันนะครับ เช่น คุณทำการค้นหาคำว่า “Search Engine คืออะไร” ผ่านทั้ง 5 แห่งที่ผมให้ไว้จะได้ผลการค้นหาที่ต่างกัน
ประเภทที่ 2 Web Directory หรือ Blog Directory
Web Directory หรือ Blog Directory คือ สารบัญเว็บไซต์ที่ให้คุณสามารถค้นหาข่าวสารข้อมูล ด้วยหมวดหมู่ข่าวสารข้อมูลที่เกี่ยวข้องกัน ในปริมาณมาก ๆ คล้าย ๆ กับสมุดหน้าเหลืองครับ ซึ่งจะมีการสร้าง ดรรชนี มีการระบุหมวดหมู่ อย่างชัดเจน ซึ่งจะช่วยให้การค้นหาข้อมูลต่าง ๆ ตามหมวดหมู่นั้น ๆ ได้รับการเปรียบเทียบอ้างอิง เพื่อหาข้อเท็จจริงได้ ในขณะที่เราค้นหาข้อมูล เพราะว่าจะมีเว็บไซต์มากมาย หรือ Blog มากมายที่มีเนื้อหาคล้าย ๆ กันในหมวดหมู่เดียวกัน ให้เราเลือกที่จะหาข้อมูลได้ อย่างตรง
ประเด็นที่สุด (ลดระยะเวลาได้มากในการค้นหา) ซึ่งผมจะขอยกตัวอย่างดังนี้


ODP Web Directory ชื่อดังของโลก ที่มี Search Engine มากมายใช้เป็นฐานข้อมูลDirectory

1.ODP หรือ Dmoz ที่หลายๆ คนรู้จัก ซึ่งเป็น Web Directory ที่ใหญ่ที่สุดในโลกSearch Engine หลาย ๆ แห่งก็ใช้ข้อมูลจากที่แห่งนี้เกือบทั้งสิ้น เช่น Google, AOL, Yahoo, Netscape และอื่น ๆ อีกมากมาย ODP มีการบันทึกข้อมูลประมาณ 80 ภาษาทั่วโลก รวมถึงภาษาไทยเราด้วยครับ (URL : http://www.dmoz.org )

2. สารบัญเว็บไทย SANOOK ก็เป็น Web Directory ที่มีชื่อเสียงอีกเช่นกัน และเป็นที่รู้จักมากที่สุดในเมืองไทย (URL : http://webindex.sanook.com )

3. Blog Directory อย่าง BlogFlux Directory ที่มีการเก็บข้อมูลเกี่ยวกับบล็อกมากมายตามหมวดหมู่ต่าง ๆ หรือ Blog Directory อื่น ๆ ที่สามารถหาได้จาก Make Many แห่งนี้

ประเภทที่ 3 Meta Search Engine

Meta Search Engine คือ Search Engine ที่ใช้หลักการในการค้นหาโดยอาศัย Meta Tag ในภาษา HTML ซึ่งมีการประกาศชุดคำสั่งต่าง ๆ เป็นรูปแบบของ Tex Editor ด้วยภาษาHTML นั่นเองเช่น ชื่อผู้พัฒนา คำค้นหา เจ้าของเว็บ หรือ บล็อก คำอธิบายเว็บหรือบล็อกอย่างย่อ

ผลการค้นหาของ Meta Search Engine นี้มักไม่แม่นยำอย่างที่คิด เนื่องจากบางครั้งผู้ให้บริการหรือ ผู้ออกแบบเว็บสามารถใส่อะไรเข้าไปก็ได้มากมายเพื่อให้เกิดการค้นหาและพบเว็บ หรือ บล็อกของตนเอง และ อีกประการหนึ่งก็คือ มีการอาศัย Search Engine Index Server หลาย?ๆ แห่งมาประมวลผลรวมกัน จึงทำให้ผลการค้นหาข้อมูลต่าง ๆ ไม่เที่ยงตรงเท่าที่ควร


การใช้งาน Google 


ปัจจุบันการใช้งาน Internet จะปรากฏ Web Site ให้เราสามารถเยี่ยมชมได้มากมายหลาย ประเภท และได้มีการบรรจุข้อมูลข่าวสารอยูใน ่ Web Site ต่าง ๆ ซึ่งถ้าเราต้องการค้นหาข้อมูลที่อยูใน่ ระบบ Internet1 เราอาจใช้อุปกรณ์ Tools ที่เรียกวา ตัวค้นหา ่ (Search Engine) โดยตัวค้นหา (Search Engire) นี้จะถูกบรรจุอยูใน ่ Web Site ต่าง ๆ เช่น www.google.com ,www.yahoo.com, www.lycos.com ในเอกสารนี้จะแนะนําถึงการใช้งานค้นหา (Search Engire) ของ www.google.com ซึ่งจําเป็ นตัวค้นหา (Search Engire) ที่นิยมใช้มากสุดและมีฐานข้อมูล (data base) ของ Web Site ต่าง ๆ เป็ นจํานวนมาก ซึ่งจะมีรูปแบบที่มีคําอธิบายการใช้งานเป็ นภาษาไทยที่ Web Site www.google.co.th เมื่อเราพิมพ์ที่อยู่www.google.co.thลงในช่อง Addres แล้วกด Enter จะปรากฏหน้าแรก ของ Web Site ซึ่งจะมีส่วนประกอบต่าง ๆ ดังรูป


                          รูปแสดงส่วนประกอบต่างๆ ในหน้าค้นหาของ www.google.co.th

โดยที่มีส่วนประกอบต่างๆ คือ 
1) เป็น Logo ของ www.google.co.th 
2) เป็นประเภทของการค้นหาวาให้ค้นหาข้อมูลที่อยู่ในเว็บ(Web Site) 
3) เป็นประเภทของการค้นหาว่าให้ค้นหาข้อมูลที่เป็ นรูปภาพ 
4) เป็นประเภทของการค้นหาที่แยกตามกลุ่มข่าวเรียงตาม Usenet
5) เป็นประเภทของการค้นหาโดยจะแยกเป็ นหมวดหมู่ต่าง ๆ เช่น Arts, Home, Business, Gomes เป็นต้น
ซึ่งตัวเลือกในข้อ 2-5 เมื่อเรากดคลิกที่แถบใดแถบหนึ่งก็จะปรากฏเป็ นแถบเข้มที่เราเลือกไว้ โดยปกติแล้วเมื่อเราเปิ ดหน้าแรกขึ้นมา Web Site google จะกาหนดการค้นหาให้ไว้ที่เว็บ ํ 
6) เป็ นช่องสําหรับใส่ค่า (keyward) ที่เราต้องการค้นหา 
7) เป็ นปุ่ มกดสําหรับเริ่มการค้นหา 
8) เป็ นปุ่ มสําหรับค้นหาเว็บอยางด่วน โดยการค้นหาจะนําเว็บที่อยู่ในลําดับแรกที่อยู่ใน่ ลําดับแรกที่ค้นหาพบ มาเปิ ดให้ในหน้าถัดไปเลย 
9) เป็ นตัวเลือกสําหรับการค้นหาแบบละเอียดโดยในตัวเลือกนี้จะมีการกาหนดเงื่อนไขในการค้นหาเพื่อให้ได้ผลการค้นหาที่ละเอียดยิ่งขึ้น เช่น ภาษาชนิดไฟล์วันที่ เป็นต้น 
10) เป็ นตัวเลือกสําหรับการปรับแต่งตัวเลือกใช้สําหรับการปรับแต่งรูปแบบเครื่องมือใน การค้นหา เช่น จํานวน เว็บที่แสดงในการค้นหาต่อหน้า 
11) เป็นตัวเลือกสําหรับเครื่องมือเกี่ยวกบภาษาเพื่อใช้ในการค้นหา 
1. การใช้งาน Google 
ถ้าเราต้องการค้นหา คําวาฟิสิกส์ เราทําได้โดยพิมพ์คําวาฟิสิกส์ลงในช่องสําหรับใส่คําที่ ต้องการค้นหา ( keyword) แล้วกดปุ่ม ค้นหาโดย Googleจะได้ผลการค้นหาต่อไปนี้

การค้นหาจะแจ้งจํานวนเว็บที่แสดง จํานวนเว็บที่พบ และเวลาที่ใช้ในการค้นหา ในกรณีที่การค้นหาพบ ข้อมูลมากกวา ที่จะแสดงในได้หมดใน 1 หน้า ทาง   www.google.co.th   ก็จะแสดงหน้าถัดไปได้โดยเรา สามารถแถบ ที่ตอนล่างของหน้า Web Site



2.การค้นหาของ www.goole.co.th 
จะมีคําสั่ งในการค้นหาโดย 
1) Google จะใช้เงื่อนไข “และ” (and) ในการค้นหาในรูปแบบของประโยคอยุเสมอ เช่น ถ้าเราต้องการค้นหาประโยคที่ว่า สตีฟ จ๊อบ




จะได้ผลการค้นหาต่อไปนี้

2) ถ้าเราต้องการใช้เงื่อนไข “หรือ” (OR) สําหรับเชื่อมคําที่ต้องการค้นหา คือ นําผลที่ ค้นหาได้ของทั้ งหมดมารวมกน ซึ่งเราทําได้โดยใช้คําว ั า ่ OR เป็ นตัวอักษรใหญ่ระหวางค่ ่าที่ต้องการ ค้นหา เช่น ถ้าเราต้องค้นหาวาประโยคที่ว่า สตีฟ จ๊อบ
3) การค้นหาของ google สามารถค้นหาแบบเป็ นกลุ่มคําหรือเป็ นวลีเราสามารถใช้ เครื่องหมาย “ ” เช่น “physics momentum”
4) Googleจะสามารถค้นหาไฟล์ในรูปแบบอื่น ๆ โดยประเภทไฟล์ที่รองรับคือ
- Adobe Portable Document Format (มีนามสกุล เป็ น pdf)
- Adobe Post Script (มีนามสกุลเป็น ps)
- Lotus 1-2-3 (มีนามสกุลเป็ น wk 1, wk2, wk3, wk4, wk5, wki, wks, wku)
- Lotus Wordpro (มีนามสกุลเป็ น lwp)
 - MacWrite (มีนามสกุลเป็ น mw)
 - Microsoft Word (มีนามสกุลเป็ น doc)
- Microsoft Excel (มีนามสกุลเป็ น xls)
- Microsoft Power Point (มีนามสกุลเป็ น ppt )
- Text File (มีนามสกุลเป็ น txt )
เราสามารถค้นหาโดยระบุชนิดของไฟล์ที่เราต้องการค้นหาได้โดยใช้ค่าวา่ filetype : แล้ว ตามด้วยนามสกุลของไฟล์ที่เราต้องการค้นหา เช่น
คือเราต้องการค้นหา Website ที่เกี่ยวข้องกับฟิสิกส์โดยมีรูปแบบไฟล์เป็นที่มีนามสกุล ppt คือเป็นไฟล์ Microsoft Power Point จะได้ผลการค้นหาต่อไปนี้
 5) Google สามารถตัดคําที่เป็นคําพ้องรูปโดยใช้เครื่องหมาย “ - ” เช่นคําว่า bass มี ความหมายเก ี่ ยวกบปลาและดนตรี ในเวลาที่เราต้องการตัดความหมายเกี่ยวกับดนตรีก็ทําได้โดยพิมพ์วา ่ bass-music นอกจากนี้ยังสามารถตัดชนิดของไฟล์ที่ต้องการค้นหาได้ เช่น ต้องการค้นหาคําวา ่ bass โดยตัดการค้นหาชนิดไฟล์ที่เป็ น pdfออกก็ทําได้โดยพิมพ์ bass -filetype : pdf
 6) ในการค้นหาโดยปกติแล้ว Google จะละคําทั่ว ๆ ไปในภาษาอังกฤษ เช่น the, to, of และอักษรตัวเดียวเพราะจะทําให้การค้นหาช้า แต่ถ้าเราต้องการรวมคําเหล่านั้นในการค้นหาทําได้โดย ใช้เครื่องหมาย + ไว้หน้าคํานั้นโดยต้องเว้นวรรคก่อน เช่น back + to nature
7) Google สามารถค้นหา link ทั้ งหมดที่เชื่อมไปยัง Website นั้น โดยใช้คําว่า  link : แล้วตาม ด้วยชื่อ Website นั้น เช่น link : www.google.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น