Winnie The Pooh Glitter

บทที่ 8 คอมพิวเตอร์กับงานด้านการตลาด

ระบบสารสนเทศทางการตลาด

   คอตเลอร์ได้ให้คนิยามว่า  รับบสารสนเทศทางการตลาด  หมายถึง  ระบบที่ประกอบด้วยคน  เครื่องมืออุปกรณ์และกระบวนการเก็บรวบรวม  จำแนกแยกประเภทวิเคราะห์และประเมิน  ตลอดจนการแจกจ่ายสารสนเทศที่ถูกต้องแม่นยำ  ทันเวลาและตรงตามความต้องการ  มีระบบย่อย  ดังนี้
          1.  ระบบระเบียนข้อมูลในกิจการ
          2.  ระบบอัจฉริยะทางการตลาด
          3.  ระบบวิจัยการตลาด
          4.  ระบบสนับสนุนการตัดสินใจทางการตลาด
          5.  ระบบพนากรณ์ยอดขาย
หลักการตลาด

     1.  ความหมาย          คอตเลอร์และอาร์มสตรองได้ให้คำนิยามว่าการตลาด  หมายถึง  กระบวนการทางสังคมและการจัดการที่มุ่งสนองถึงความจำเป็น  และความต้องการให้กับบุคคลและกลุ่มต่างๆ  โดยอาศัยการสร้างสรรค์  รวมทั้งการแลกเปลี่ยนคุณค่าและผลิตภัณฑ์ให้กับผู้อื่น
         สรุปได้ว่า  ปัจจุันองค์การธุรกิจมีการใช้ปรัชญาทางการตลาด 2 แนวทาง คือปรัชญาด้านการตลาดและปรัชญาด้านการตลาดเพื่อสังคม  ซึ่งประกอบด้วยหลักการ 3 ข้อ ดังนี้

         1.  จะต้องมีการตอบสนอง  และสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า
         2.  จะต้องมีการบูรณาการและความร่วมมือของทุกฝ่ายในองค์กร
         3.  จะต้องมีการมุ่งเน้นไปที่ผลสำเร็จในระยะยาว  และการให้ความสำคัญกับการจงรักภักดีของลูกค้าที่มีต่อองค์กร

       2.  องค์ประกอบทางการตลาด
            2.1  การแลกเปลี่ยนทางการตลาด  คือการโยกย้ายยหรือโอนสิ่งที่จับต้องได้หรือจับต้องไม่ได้
            2.2  กลยุทธ์ทางการตลาด  คือการกำหนดตลาดเป้าหมาย  และการพัฒนาส่วนประสมทางการตลาด   เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าภายต้ตลาดเป้าหมาย
            2.3  กิจกรรมทางการตลาด  คือต้องกระทำเพื่อการเคลื่อนย้ายผลิตภัฑณ์จากผู้ผลิตไปสู่ลูกค้าคนสุดท้าย
            2.4  ตำแหน่งงานทางการตลาด  คือการกำหนดตำแหน่งงานที่เกี่ยวข้องกับการตลาด  โดยบางตำแหน่งอาจจะต้องการความเชี่ยวชาญเป็นพิเศษ
            2.5  สถาบันทางการตลาด  คือองค์กรที่มีความเชี่ยวชาญพิเศษในกิจกรรมการตลาดเฉพาะทาง  โดยองค์การเหล่านี้จะต้องเป็นผู้คอยช่วยเหลือธุรกิจด้านต่างๆ

      3.  การส่งมอบคุณค่าเพื่อลูกค้า
           3.1  การเลือกคุณค่า ในส่วนนี้ต้องทำการวิเคราะห์เพื่อความเข้าใจถึงความจำเป็นของลูกค้า
                  3.1.1  การแบ่งส่วนตลาด  คือการตัดสินใจว่าส่วนตลาดใด  คือโอกาสในการบรรลุเป้าหมาย  โดยอาจใช้เกณฑ์หลายลักษณะ  เช่น  เกณฑ์ภูมิศาสตร์  ประชากรศาสตร์
                  3.1.2  การกำหนดตลาดเป้าหมาย  คือทำการประเมินความน่าสนใจของแต่ละส่วนตลาด  และเลือกตลาดที่มีโอกาสสร้างคุณค่าแก่ลูกค้ามากที่สุด
                  3.1.3  การวางตำแหน่งมูลค่าตลาด  คือการจัดตำแหน่งของผลิตภัณฑ์ที่มีความชัดเจน  มีลักษณธเฉพาะและสร้างความพึ่งปราถนาภายในจิตใจของลูกค้า 
           3.2  การจัดหาคุณค่า  ในส่วนที่องค์การต้องการอาศัยกระบวนการพัฒนาส่วนประสมการตลาดในส่วนของผลิตภัณฑ์ ราคา  และช่องทางการจำหน่าย 
                  3.2.1  ผลิตภัณฑ์  คือสิ่งใดๆก็ตามที่เสนอให้แก่ตลาด  เพื่อสร้างความสนใจ  ความเป็นเจ้าของ   โดยตอบสนองถึงความจำเป็นและความต้องการของลูกค้าเท่านั้น
                 3.2.2  ราคา  คือมูลค่าที่กำหนดไว้สำหรับการแลกเปลี่ยนผลิตภัณฑ์  หรือจำนวนเงินที่ลูกค้าต้องจ่ายเพื่อให้ได้มาซึ่งผลิตภัณฑ์นั้น
                 3.2.3  การจัดจำหน่าย  คือการจัดกิจกรรม  หรอวิธีการเพื่อให้ผลิตภัฑณ์ไปสู้กลุ่มลูกค้าในตลาดเป้าหมาย   เพือให้บรรลุจุดมุ่งหมายของการแลกเปลี่ยน
            3.3  การสื่อคุณค่า  ในส่วนนี้องค์การต้องอาศัยกระบวนการพัฒนาส่วนประสมทางการตลาดในส่วนการสื่อสารการตลาดเข้าช่วย  เพื่อสื่อสารถึงข้อดีของผลิตภัณฑ์
                3.3.1  การโฆษณา  คือช่องทางที่ไม่ใช้บุคคล  แต่ใช้สื่อสารโฆษณาใในการแจ้งข่าวสาร
                3.3.2  การขายโโยบุคคล  คือช่ิองทางการสื่อสารซึ่งใช้พนักงานขายที่มีความรู้ในผลิตภัฑณ์เป็นอย่างดี  สามารถนำเสนอจุดเด่นของผลิตภัณฑ์ให้กลุ่มลูกค้าที่คาดหวังเก็นได้
                3.3.3  การส่งเสริมการขาย  คืการใช้เครื่องมือส่งเสริมการขายในรูปของการลดราคา  การแลกซื้อสินค้าพรีเมียม   การแจกตัวอย่างสินค้า   และการแถมสินค้า  วิธีนี้ใช้กับผลิตภัฑณ์ความเกี่ยวเนื่องต่ำ
                3.3.4  การประชาสัมพันธ์  คือการสื่อสารสร้างความเข้าใจอันดีกับกลุ่มลูกค้า  คนกลางในช่องการทางการจัดจำหน่าย  หน่วยงานรัฐ  สถาบันการเงิน  และบริษัทตัวแทนโฆษณา
                3.3.5   การตลาดโดยตรงได้รับความนิยมมากในปัจจุบัน  โดยอาจเลือกใช้สื่อโทรศัพท์  หรือจดหมายส่งตรงถึงลูกค้า ซึ่งทำให้การขายเกิดขึ้นง่าย
                3.3.6  การสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการ  หรือการสื่อสารการตลาดแบบครบวงจร  คือการเลือกสรรเครื่องมือการสื่อสารที่เหมาะสมกับประเภทของผลิตภัณฑ์และบริการ  ตลอดจนลักษณะตลาด
                3.3.7  การสื่อสารตราสินค้า   คือการสร้างส่วนทุนตราสินค้า  หรือสร้างคุณค่าของตราสินค้า  ซึ่งนำไปสู่ความจงภักดีในตราสินค้าได้

       4.  บทบาททางการตลาด
            4.1  ช่วยแก้ปัญหาด้านผลการดำเนินงานขององค์การที่ประสบภาวะขาดทุน  โดยดำเนินโปรแกรมการตลาด  เพื่อสร้างภาพลักษณ์ใหม่ของผลิตภัณฑ์และบริการ  และอาศัยการวิจัยการตลาดเพื่อให้ได้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจ     
            4.2  ช่วยแก้ปัญหาด้านการครอบครองส่วนแบ่งตลาดที่เพิ่มขึ้น  โดยมีแนวโน้มของการควบรวมบริษัทต่างๆ  เข้าด้วยกัน  ทั้งในส่วนของธุรกิจประเภทเดียวกน
            4.3  ช่วยให้พนักงานที่ทีพื้นฐานและประสบการณ์ทางการตลาดประสบผลสำเร็จและมีความก้าวหน้าในอาชีพในฐานะผู้บริหารระดับสูงของกิจการ


สารสนเทศทางการตลาด

    1.  ความหมาย
    สารสนเทศทางการตลาด  หมายถึง  สารสนเทศที่ได้จากการประมวลผลของระบบสารสนเทศทางการตลาด  ซึ่งอาศัยขอมูลและสารสนเทศทั้งจากภายในและภายนอกองค์การ   โดยใช้กิจกรรมสนับสนุนทางการตลาดทั้งในส่วนของการพัมนาผลิตภัณฑ์การจัดจำหน่าย  การตั้งราคาผลิตภัณฑ์  การตัดสินใจทางการตลาด  การสื่อสารทางการตลาด  และการพยากรณ์ยอดขาย

     2.  ประเภท  
          2.1  สารสนเทศเชิงปฏิบัติการ  ได้รับจากการปฏิบัติงานด้านการตลาดเพื่อสร้างยอดขายของธุรกิจ
                 2.1.1  สารสนเทศด้านลูกค้า
                 2.1.2  สารสนเทสด้านการขาย
                 2.1.3  สารสนเทศด้านสินค้า  
          2.2  สารสนเทศเชิงบริหาร  ใช้สนับสนุนงานการบริหารตลาด  และการพัฒนาส่วนประสมของการตลาด
                 2.2.1  สารสนเทศด้านการพัฒนา
                 2.2.2  สารสนเทศด้านการสื่อสารการตลาด
                 2.2.3  สารสนเทศด้านการตั้งราคาสินค้าหรือบริการ
                 2.2.4  สารสนเทศด้านพยากรณ์ยอดขาย
          2.3  สารสนเทศภายนอกองค์การ  ได้มาจากกระบวนการเก็บรวบรวมข้อมูลจากสภาพแวดล้อมภายนอก
                 2.3.1  สารสนเทศด้านการวิจัยการตลาด
                 2.3.2  สารสนเทศด้านข่าวกรองทางการตลาด    

กระบวนการทางธุรกิจของระบบสารสนเทศ

   1.  ระบบระเบียบข้อมูลในกิจการ  คือระบบการบันทึกข้อมูลพื้นฐานในองค์การซึ่งนำมาใช้กับการดำเนินกิจกรรมทางการตลาด  เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า
        1.1  ระบบสารสนเทศทางการขาย  คือระบบที่พัฒนาขึ้นด้วยความมุ่งหวังที่จะทราบยอดขายของธุรกิจในช่วงเวลาหนึ่ง  โดยจะต้องเชื่อมโยงข้อมูลกับสารสนเทศอื่น
        1.2  ระบบลูกค้าสัมพันธ์  คือระบบที่ถูกพัฒนาขึ้นใช้งานด้านเก็บรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับลูกค้า  เพื่อสนับสนุนงานบริการให้ลูกค้ามีความพึงพอใจสูงสุดและกลับมาซื้อสินค้าหรือบริการซ้ำในอนาคต
   2.  ระบบอัจฉริยะทางการตลาด  คือระบบที่พัฒนาขึ้นเพื่อเก็บรวบรวมข่าวกรองทางการตลาด  ที่เกี่ยวข้องกับคู่แข่งและสภาพแวดล้อมทางการตลาด  เพื่อนำมาตัดสินใจทางกลยุทธ์  และประเมินสถานการณ์ทางการแข่งขัน
   3.  ระบบวิจัยการตลาด  ใคือระบบที่พัฒนาขึ้นเพื่อใช้สนับสนุนด้านการวิจัยการตลาด  โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลที่ต้องการศึกษาอย่างเป็นทางการในสถานการณ์ที่เฉพาะเจาะจง
   4.  ระบบสนับสนุนการตัดสินใจทางการตลาด  คอตเลอร์ได้นิยามไว้ว่าการนำเอาซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์มาใช้ในการเก็บข้อมูล  วางระบบโดยการประสานกันของเครื่องมือทางสถิติ  ตัวแบบและเทคนิคการวิเคราะห์เชิงปริมาณ  เพื่อช่วยให้องค์การสามารถเ็บรวบรวม  เพื่อใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานการดำเนินการด้านการตลาดต่อไป
        4.1  ระบบสนับสนุนการตัดสินใจด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์  คือระบบซึ่งเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนสภาพวัตถุดิบเป็นสินค้าสำเร็จรูปหรือบริการ  ที่มุ่งหวังในด้านคุณลักษณะทางกายภาพผลิตภัฑณ์
        4.2  ระบบสนับสนุนการตัดสินใจด้านการโฆษณาและส่งเสริมการขาย  คือระบบที่ใช้สนับสนุนงานส่วนหนึ่งของการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการ โดยธุรกิจมักใช้วิธีการโฆษณาและส่งเสริมการขายร่วมกัน  เพื่อสื่อสารถึงลูกค้าให้ตัดสินใจซื้อสินค้าหรือบริการของธุรกิจ
         4.3  ระบบสนับสนุนการตัดสินใด้านการตั้งราคาผลิตภัณฑ์  คือระบบที่พัฒนาขึ้นเพื่อสนับสนุนหน้าที่งานด้านการตั้งราคาผลิตภัณฑ์  โดยจำแนกเป็นการตั้งราคาขายปลีก ขายส่ง  หรือราคาพร้อมส่วนลด  ซึ่งมุ่งหวังยอดขายสุงสุด
         4.4  ระบบสนับสนุนการตัดสินใจด้านพยากรณ์ยอดขาย  คคือระบบที่พัฒนาขึ้นเพื่อค้นหาโอกาสทางการตลาด  และทำการพยากรณ์ศักยภาพในการทำกำไรของแต่ละโอกาสทางการตลาด  เพื่อนำไปใช้สำหรับการจัดหาเงินสดในการลงทุนและการดำเนินงาน  โดยมีขั้นตอนการพยากรณ์ยอดขาย  ดังต่อไปนี้
          ขั้นตอนที่ 1  ทำการวัดอุปสงค์ของตลาด
          ขั้นตอนที่ 2  ทำการพยากรณ์สักยภาพขงตลาด
          ขั้นตอนที่ 3  ทำการกำหนดอุปสงค์ของบริษัท
          ขั้นตอนที่ 4  ทำการคัดเลือกระดับความพยายามทางการตลาด
          ขั้นตอนที่  5  ทำการพยากรณ์ยอดขาย  
         

เทคโนโลยีทางการตลาด

     1.   โปรแกรมสเร็จรูปด้านการตลาด  คือซอฟต์แวร์พาณิชย์ประเภทหนึ่งที่วางขายอยู่ในตลาดซอฟต์แวร์  ถูกพัฒนาขึ้นใช้เฉพาะกับงานด้านการตลาด  และจำเป็นต้องใช้ร่วมกับระบบจัดการฐานข้อมูล  เพื่อสร้างระบบจัดเก็บข้อมูลที่มีประสิทธิภาพ
           1.1  โปรแกรมสำเร็จรูปด้านการขาย  ต้องอาสัยการทำงานร่วมกันของฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ระบบการขายและรับชชำระเงิน
           1.2  โปรแกรมจัดการลูกค้าสัมพันธ์  คือโปรแกรมที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อใช้เก็บข้อมูลเกี่ยวกับลูกค้าที่นำมาซึ่งการสร้างความสัมพันธ์เชิงธุรกิจกับลูกค้าระยะยาววัถุประสงค์เพื่อเพิมรายได้ให้กับองค์การ
           1.3  โปรแกรมบริหารการขนส่ง  คือการจัดการขนส่งเพื่อส่งมอบสินค้าหรือบริการให้ถึงมือลูกค้า
      2.  นวัตถกรรมด้านร้านค้าปลีก  ปัจจุบันมีการจัดร้านค้าปลีกรูปแบบใหม่โดยมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทสมาช่วยอำนวยคามสะดวกด้านการเลือกวื้อสินค้า  การตรวจสอบและรับชำระค่าสินค้า  ซึ่งเป็นการลดกระบวนการซื้อและลดระยะเลาการรอคอย
      3.  หน่วยขายอัตโนมัติ  เพื่อช่วยเพิมประสิทธิภาพการขายของพนักงานขาย  โดยอยู่ในรูปแบบของการใช้มือถือเคลื่อนที่ที่สามารถเข้าถึงข้อมูลในฐานข้อมูลของบริษัทได้
      4.  การใช้งานอินทราเน็ต  โดยใช้ในการควบคุมและติดต่อประสานงานในส่วนกิจกรรมขาย  นอกจากนี้ยังสามารถตรวจสอบคำสั่งซื้ของลูกค้า  ข้อมุลการจัดสงสินค้าและชำระเงินตลอดจนเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการขายผ่านอินทราเน็ตด้วย
      5.  การใช้งานอินเทอร์เน็ต  ลูกค้าสามารถสั่งซื้อสินค้าบนเว็บ  โดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล  ณ  ที่บ้าน   หรือสำนักงานของลูกค้า  โดยไม่จำเป็นต้องใช้พนักงานขาย
           5.1  การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์  ด้วยการนำเสนอสินค้าหรือบริการแก่ลูกค้าด้วยระบบดิจิตอลและยังเพิ่มเปอร์เซ็นต์การขายผลิตภัณฑ์จากผลิตภัณฑ์ปรกติ
           5.2  การสื่อสารการตลาด  สามารถเข้าถึงคนจำนวนมากด้วยวิธีการต่างๆและช่วยเพิ่มประสิทธิภาพด้านการสื่อสาร  เพื่อใช้ส่งข่าวสารต่อลูกค้าในเชิงโต้ตอบ
           5.3  การโฆษณาออนไลน์  เพื่อโฆษณาและขายผลิตภัณฑ์  ผลดีคือช่วยลดค่าใช้จ่าย    
           5.4  การอีเล์  มีการรับส่งข่าวสารท่รวดเร็ว  ต้นทุนต่ำ
           5.5  ตลาดอิเล็กทรอนิกส์  เป็นแหล่งรวมของผู้ต้องการซื้อและผู้ต้องการขายมีจุดมุ่งหมายที่สอดคล้องกัน
           5.6  การพาณิชย์แบบเคลื่อนที่  เป็นรูปแบบหนึ่งของระบบส่งเสริมการขายของธุรกิจที่พกพาอุปกรณ์สื่อสารเข้ามา ณ บริเวณใกล้เคียงกับสำนักงานของบริษัท
           5.7  การพาณิชย์แบบร่วมมือ  ทันสมัยที่สุด  และเปิดโอกาสให้หลายกิจกรรมทำงานร่วมกันแบบออนไลน์เพื่อประหยัดค่าใช้จ่าย  ก่อให้เกกิดรายได้
      6.  การทำเมืองข้อมูลทางการตลาด  การทำโกดังข้อมูลร่วมกับสารสนเทศทางการตลาด  จะช่วยสร้างชุดเครื่องมืปรับการปฏิบัติการดีเลิศ  สำหรับงานด้านการขายและการตลาด  สร้างข้อได้เปรียบทางการแข่งขันให้ธุรกิจ  สามารถพัมนาผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ให้แก่ธุรกิจ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น