Winnie The Pooh Glitter

บทที่2 ข้อมูล


ความหมายของข้อมูล


ข้อมูล คือข้อเท็จจริงหรือเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งต่างๆ  เช่น  คน สัตว์ สิ่งของ สถานที่ ฯลฯ โดยอยู่ในรูปแบบที่เหมาะสมต่อการสื่อสาร  การแปลความหมายและการประมวลผล ข้อมูลอาจจะเป็นตัวเลข อักขระ หรือสัญลักษณ์ใดๆ  เช่น  1.5 อาจจะถูกกำหนดให้เป็นจำนวนหน่วยการเรียนของ วิชาความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ 8.30 แทนเวลาเข้าเรียน สัญลักษณื แทนการเลี้ยว เบื้องต้น
ความรวดเร็วของการเก็บข้อมูลจึงผูกผันกับเทคโนโลยีซึ่งมีหลายวิธี เช่น การใช้ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ การเชื่อมต่อกับระบบปลายทางเพื่อรับข้อมูลการใช้โทรสาร การใช้ระบบอ่านข้อมูลอัตโนมัติ เช่น เครื่อง กราดตรวจ (scanner) เครื่องอ่านข้อมูลที่เป็นรหัสแท่ง (barcode reader )


ประเภทของแฟ้มข้อมูล


ประเภทของแฟ้มข้อมูล เราสามารถจำแนกแฟ้มข้อมูลออกตามลักษณะของข้อมูลที่เก็บบันทึกไว้และสามารถแบ่งแฟ้มข้อมูลออกเป็นประเภทใหญ่ๆ คือ

แฟ้มข้อมูลหลัก  เป็นแฟ้มข้อมูลซึ่งเก็บข้อมูลที่สำคัญ เช่น แฟ้มประวัติลูกค้า ซึ่งแฟ้มข้อมูลหลักเหล่านี้เป็นส่วนประกอบของระบบงานบัญชี

แฟ้มรายการปรับปรุง เป็นแฟ้มที่บันทึกข้อมูลเกี่ยวกับแฟ้มข้อมูลหลักที่มีการเปลี่ยนแปลงในแต่ละวัน  รายการที่เกิดขึ้นต้องนำไปปรับปรุงกับแฟ้มข้อมูลหลักเพื่อให้แฟ้มข้อมูลหลักมีข้อมูลที่ทันสมัยอยู่ตลอดเวลา การจัดระเบียบแฟ้มข้อมูล มีวิธีการจัดได้หลายประเภท เช่น

      2.1.การจัดระเบียบแฟ้มข้อมูลตามลำดับ  ลักษณะการจัดข้อมูลรายการจะเรียงตามฟิลด์ที่กำหนด  เช่น  เรียงจากน้อยไปมาก หรือ จากมากไปหาน้อย หรื เรียงตามอักษร โดยส่วนมากมักใช้เทปแม่เหล็กเป็นสื่อในการเก็บข้อมูล ซึ่งเก็บโดยวิธีนี้จะมีทั้งข้อดีและข้อเสีย

ข้อดี

        1.เป็นวิธีที่เข้าใจง่าย  เพราะการเก็บจะเรียงตามลดับ
        2.ประหยัดเนื้อที่ในการเก็บและง่ายต่อการสร้างแฟ้มใหม่

ข้อเสีย

        1.เสียเวลาในการปรับปรุง  ในกรณีที่มีรายการปรับปรุงน้อย เพราะจะต้องอ่านทุกรายการจนกว่าจะถึงรายการที่ต้องการปรับปรุง
       2.ต้องมีการจัดเรียงข้อมูลที่เข้ามาใหม่ให้อยู่ในลำดับเดียวกันในแฟ้มข้อมูลหลักก่อนที่จะประมวลผล


        2.2.การจัดระเบียบแฟ้มข้อมูลแบบตรงหรือแบบสุ่ม
โดยส่วนมากมักจะใช้จานแม่เหล็กเป็นหน่วยเก็บข้อมูลการบันทึกหรือการเรียกข้อูลขึ้นมาสามารถเรียกได้โดยตรงหรือการเข้าถึงโดยการสุ่มการค้นหาข้อมูลโดยวิธีนี้จะเร็วกว่าแบบตามลำดับ  ทั้งนี้เพราะการค้นหาจะกำหนดดัชนี ฉะนั้นจะวิ่งไปหาข้อมูลที่ต้องการหรืออาจจะเข้าหาข้อมูลแบบอาศัยดัชนีและเรียงลำดับควบคู่กัน เมื่อพบแล้วต้องการเอาข้อมูลมาอีกกี่รายการก็ให้เรียงตามลำดับของรายกาารที่ต้องการซึ่งการเก็บโดยวิธีนี้มีทั้งข้อดีและข้อเสีย

ข้อดี
   
         1.สามารถบันทึกเรียกข้อมูลและปรับปรุงข้อมูลที่ต้องการได้โดยตรงไม่ต้องผ่านรายการที่อยู่ก่อนหน้า
         2.ในการปรับปรุงและแก้ข้อมูลสามารถทำได้ทันที

ข้อเสีย

           1.สิ้นเปลืองเนื้อที่ในหน่วยสำรองข้อมูล
           2.ต้องมการสำรองข้อมูล  เนื่องจากโอกาสที่ข้อมูลจะมีปัญหาเกิดได้ง่ายกว่าแบบตามลำดับ


           2.3.การจัดการแฟ้มข้อมูล

การจัดการแฟ้มข้อมูล ( file Management ) ในอดีตข้อมูลท่จัดเก็บไว้จะอยู่ในรูปของแฟมข้อมูลอิสระ (Conventional  File )  ซึ่งระบบงานแต่ละระบบก็สร้างแฟ้มของตนเองขึ้นมาโดยไม่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน  เช่น  ระบบบัญชี  ที่สร้างแฟ้มข้อมูลของตนเอง  ระบบพัสดุคงคลัง  (Inventory )  ระบบการจ่ายเงินเดือน (Payroll) ระบบออกบิล (billing) และระบบอื่นๆ  ดังนั้น  ก่อนที่องค์การจะนคอมพิวเตอร์มาใช้จะต้องมีการวางแผนถึงระบบการบริหารแฟ้มข้อมูล  การแบ่งประเภทของแฟ้มข้มูลและการจัดระเบียบแฟ้มข้อมูล

            2.4.รหัสข้อมูล

            2.4.1 ความหมาย รหัสแทนข้อมูล  คือรหัสที่ใช้แทนข้อมูลที่ส่งเข้าไปบันทึกไว้ในเครื่องและให้เครื่องประมวลผล
            2.4.2 ชนิดและลักษณะของรหัสแทนข้อมูลแบบต่างๆ รหัสแทนข้อมูลมี 3 ประเภท ได้แก่

                 1. BCD (BINARY CODED DECIMAL) เป็นรหัสแบบ 6 บิต เป็น 1 ไบต์ แบ่งเป็น 2 ส่วน
                             >>> Zone Bit คือ 2 บิตแรก เป็นตัวชี้รหัสกลุ่ม , ตัวอักษร , ตัวเลข , อักษรพิเศษ
                             >>> Digit Bit คือ 4 บิตหลัง เป็นเลขฐาน 2 จำนวน 4 ตัว ค่าเปลี่ยนตามตำแหน่งตัวอักษร BCD แบ่งเป็น 3ส่วน
                   
                         1.1 ข้อมูลที่เป็นตัวเลข  (0-9) - Zone Bit เป็น 00 เช่น 6 ฐาน 10 เป็น BCD 000110
                         1.2 ข้อมูลที่เป็นตัวอักษร  ( A-Z ) - แบ่งเป็นกลุ่มละ 9 ตัว
                             >>> A -I Zone Bit เป็น 11
                             >>> J -R Zone Bit เป็น 10
                             >>> S-Z Zone Bit เป็น  01
                     
                         1.3ข้อมูลที่เป็นอักขระพิเศ เช่น *,+,-,/,$ เป็นต้น
                 
                     2. EBCDIC ( EXTENTED BINARY CODED DECIMAL INTER CHANGE CORD ) เป็นรหัส 8 บิต เป็น 1 ไบต์ หรือเท่ากับ 2 กำลัง 8 = 256 ตัวอักษร แบ่
เป็น 2กลุ่ม ๆละ 4 บิต เป็นเลขฐาน 2 หรือเลขฐาน 16 EBCDIC แบ่งเป็น 3 กลุ่ม
                                 2.1 ข้อมูลที่เป็นตัวเลข (0-9) - Zone Bit เป็น 1111 หรือ F ในฐาน 16
                                 2.2 ข้อมูลที่เป็นตัวอัษร (A-Z ) - แบ่งเป็นกลุ่มละ 9 ตัว
                            >>>A-I Zone Bit เป็น 1100 = C
                            >>>J-R Zone Bit เป็น 1101 = D
                            >>>S-Z Zone Bit เป็น 1110 = E
                                 2.3ข้อมูลที่เป็นอักขระพิเศษ เช่น *,+,-,/,$ เป็นต้น เช่น COM 23 เลขฐาน 2      11000011  11010110  11010100      11110010      11110011 เป็นเลขฐาน 16  C3 D6 D4 F2 F3

                     3. ASCII (American Standard Code for Information Interchange)
รหัสแอสกี เป็นรหัสที่นิยมใช้กันมาก จนสามมารถนับได้ว่าเป็นรหัสมาตรฐานที่ใช้ใน การสื่อสารข้อมูล    ( Data Communications) ซึ่งจำเป็นต้องใช้รหัสการแทนข้อมูลเป็นระบบเดียวกัน เพื่อให้สามารถรับ - ส่งข้อมูลได้ในความหมายเดียวกัน รหัสแอสกีใช้เลขฐานสอง 8 หลักแทนข้อมูลหนึ่งตัวเช่นเดียวกับรหัสเอบซีดิค นั่นคือ 1 ไบต์มีความยาวเท่ากับ 8 บิต รวมทั้งมีการแบ่งรหัสออกเป็นสองส่วน คือ โซนบิตและนิวเมอริกบิตเช่นเดียวกัน
    อักขระ
    รหัส EBCDIC
    รหัส ASCII
    อักขระ
    รหัส EBCDIC
    รหัส ASCII
    A
    11000001
    01000001
    0
    11110000
    00110000
    B
    11000010
    01000010
    1
    11110001
    0011001
    C
    11000101
    01000011
    2
    11110010
    00110010
    :
    :
    :
    3
    11110011
    00110011
    X
    11100111
    01011000
    :
    :
    :
    Y
    11101000
    01011001
    :
    :
    :
    Z
    11101001
    01011010
    :
    :
    :
    :
    :
    :

ชนิดของข้อมูล

      ข้อมูลที่เราไดัรับรู้และนำมาใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันแบ่งออกเป็น 4 ประเภท คือ
      1.ข้อมูลที่เป็นตัวอักษร  หมายถึง  ข้อมูลที่เป็นตัวหนังสือภาาาต่างๆ เช่น ภาษาไทย  ภาษาอังกฤษ เป็นต้น
      2.ข้อมูลที่เป็นตัวเลข   หมายถึง  ข้อมูลที่เขียนแทนตัวเลข ทั้งเลขไทยและเลขอารบิก
      3.ข้อมูลที่เป็นภาพ  หมายถึง  ภาพจริง ภาพวาด วัตถุ และสิ่งของต่างๆ
      4.ข้อมูลอื่นๆ  เป็นข้อมูลนอกเหนือจากที่กล่าวมาแล้ว เช่น เสียง แสง ความร้อน เป็นต้น

ลักษณะของข้อมูลที่ดี

     การจัดเก็บข้อมูลจำเป็นต้องมีความพยายามและตั้งใจดำเนินการ   หรือกล่าวได้ว่าการได้มาซึ่งข้อมูลที่จะนำประโยชน์  องค์การจำเป็นต้องลงทุน ทั้งในนด้านข้อมูล เครื่องจักร และอุปกรณ์ และตลอดจนการพัฒนาบุคลากรขึันมารองรับระบบเพื่อให้ใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้น  การดำเนินการเพื่อให้ได้มาซึ้งสารสนเทศที่ดี ข้อมูลจะต้องมีคุณสมบัติขั้นพื้นฐาน ดังนี้
       1.ความถูกต้อง  หากมีการเก็บรวบรวมข้อมูลแล้วข้อมูลเหล่านั้นเชื่อถือไม่ได้จะทำให้เกิดความเสียหายอย่างมาก
       2.ความรวดเร็วและความเป็นปัจจุบัน   การได้มาของข้อมูลจำเป็นต้องให้ทันต่อความต้องการของผู้ใช้ มีความตอบสนองต่อผู้ใช้ได้เร็ว
      3.ความสมบูรณ์  ความสมบูรณ์สารสนเทศขึ้นกับการรรวบรวมข้อมูลแลกะวิธีการปฏิบัติด้วย
      4.ความชัดเจนและกระทัดรัด การจัดเก็บข้อมูลจำนวนมากจะต้องใช้พื้นที่ในการจัดเก็บข้อมูลมากจึงจำเป็นต้องออกแบบโครงสร้างข้อมูลให้กระทัดรัดสื่อความหมายได้
      5.ความสอดคล้อง  ความต้องการเป็นเรื่องที่สำคัญ ดังนั้น  จึงต้องมีการสำรวจเพื่อหาความต้องการของหน่วยงานและองค์การ  ดูสภาพการใช้ขอมูล ความลึกหรือความกว้างของขอบเขตข้อมูลลที่สอดคล้องกับความต้องการ

ระบบแฟ้มข้อมูล (File system)


หมายถึง สิ่งที่ผู้ใช้เกี่ยวข้องโดยตรง แต่มักไม่รู้ตัวเนื่องจากเป็นการอำนวยความสะดวกโดยระบบปฏิบัติการอย่างอัตโนมัติ ระบบแฟ้มเป็นฐานที่ทำให้เกิดการจัดการโปรแกรม และข้อมูลในทุกการดำเนินงานของระบบซอฟท์แวร์ที่เข้าควบคุมสื่อเก็บข้อมูล
ระบบแฟ้มประกอบด้วย 3 ส่วน คือ 
1)รวมรวมแฟ้ม (Collection of Files) เก็บข้อมูลที่สัมพันธ์ให้ถูกอ้างอิงได้ในรูปแฟ้มข้อมูล
2)โครงสร้างแฟ้ม (Directory Structure) จัดการอำนวยการเข้าถึงแฟ้มและจัดกลุ่มอย่างเป็นระบบ 
3)พาทิชัน (Partitions) ซึ่งแยกเป็นทางกายภาพ (Physically) หรือทางตรรก (Logically) ของระบบไดเรกทรอรี่ (Directory) โดยเนื้อหาในบทนี้จะกล่าวถึงแฟ้ม และโครงสร้างไดเรกทรอรี่ รวมถึงการป้องกันแฟ้ม จากการเข้าถึงในระบบ Multiple users และระบบ File sharing
วิธีการจัดเก็บข้อมูลที่ใช้กันใน OS ทุกตัวคือ จัดเก็บข้อมูลเป็นแฟ้มข้อมูลหรือไฟล์ (file) ไฟล์คือสิ่งที่บรรจุข้อมูล,โปรแกรมหรืออะไรก็ได้ที่ผู้ใช้ต้องการรวบรวมไว้เป็นชุดเดียวกันการอ้างถึงไฟล์หรือข้อมูลต่างๆภายในไฟล์ของโปรแกรม จะไม่มีความเกี่ยวข้องกับแอดเดรสของโปรแกรมใดๆทั้งสิ้นOSมีโอเปอร์เรชั่นพิเศษที่เรียกว่า system call ไว้ให้โปรแกรมเรียกใช้ เพื่อให้สามารถจัดการงานที่เกี่ยวกับไฟล์ได้

ข้อจำกัดของระบบแฟ้มข้อมูล

1.ข้อูลมการเก็บแยกจากกัน
2.ข้อมูลมีความซ้ำซ้อน
3.ข้อมูลมีความขึ้นต่อกัน
4.มีรูปแบบไม่ตรงกัน
5.รายงานต่างๆ ถูกกำหนดไว้อย่างจำกัด

ความหมายของการประมวลผลข้อมูล

      การประมวลผลข้อมูล คือการกระทำการใดๆ กับข้อมูลเพื่อให้ข้อมูลนั้นๆอยู่ในรูปแบบที่เป็นประโยชน์ หรอตรงตามวัตถุประสงค์ของผู้ใช้














การประมวลผลข้อมูล สามารถแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน ดังนี้

1.การเตรียมข้อมูลเข้า (lnput) เป็นการจัดเตรียมข้อมูลที่รวบรวมมาแล้วให้อยู่ในลักษณะที่สะดวกต่อการประมวลผล แบ่งเป็นขั้นตอนย่อย ๆ ดังนี้
ก. การลงรหัส(Coding) คือ การใช้รหัสแทนข้อมูลจริง ทำให้ข้อมูลอยู่ในรูปแบบที่สะดวกแก่การประมวลผล ทำให้ประหยัดเวลาและเนื้อที่ รหัสอาจเป็นตัวเลขหรือตัวอักษรก็ได้ เช่น ข้อมูลเกี่ยวกับเพศ ให้รหัส 1 แทนเพศชาย รหัส 2 แทนเพศหญิง เป็นต้น
ข. การตรวจสอบแก้ไขข้อมูล (Editing) เป็นการตรวจสอบความถูกต้องและความเป็นไปได้ของข้อมูล และปรับปรุงแก้ไขเท่าที่จะทำได้หรือคัดข้อมูลที่ไม่ต้องการออกไป เช่น คำตอบบางคำตอบขัดแย้งกันก็อาจดูคำตอบจากคำถามข้ออื่น ๆ ประกอบ แล้วแก้ไขตามความเหมาะสม
ค. การแยกประเภทข้อมูล (Classifying) คือการแยกประเภทข้อมูลออกตามลักษณะงานเพื่อสะดวกในการประมวลผลต่อไป เช่น แยกตามคณะวิชา แยกตามเพศ แยกตามอายุ เป็นต้น
ง. การบันทึกข้อมูลลงสื่อ (Media) ที่เหมาะสม หมายถึง การจัดเตรียมข้อมูลให้อยู่ในสื่อ หรืออุปกรณ์ที่อยู่ในรูปที่เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจ และนำไปประมวลได้ เช่น บันทึกข้อมูลลงในจานแม่เหล็ก หรือเทปแม่เหล็ก เพื่อนำไปประมวลผลด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ต่อไป



2.การประมวลผล (Processing) เป็นวิธีการจัดการกับข้อมูล โดยนำข้อมูลที่เตรียมไว้แล้วเข้าเครื่อง แต่ก่อนที่เครื่องจะทำงานต้องมีโปรแกรมสั่งงาน ซึ่งโปรแกรมเมอร์(Processing) เป็นผู้เขียน เครื่องคอมพิวเตอร์จะทำการประมวลผลจนกระทั่งได้ผลลัพธ์ออกมาและยังคงเก็บไว้ในเครื่องขั้นตอนต่าง ๆ อาจเป็นดังนี้

ก. การคำนวณ (Calculation) ได้แก่ การคำนวณทางคณิตศาสตร์ เช่น การบวก ลบ คูณ หาร และทางตรรกศาสตร์ เช่น การเปรียบเทียบค่าต่าง ๆ
ข. การเรียงลำดับข้อมูล(Sorting) เช่น เรียงข้อมูลจากน้อยไปมาก หรือมากไปน้อยหรือเรียงตามตัวอักษร A ถึง Z เป็นต้น
ค. การดึงข้อมูลมาใช้(Retrieving) เป็นการค้นหาข้อมูลที่ต้องการเพื่อนำมาใช้งาน เช่น ต้องการทราบยอดหนี้ของลูกค้าคนหนึ่ง หรือต้องการทราบยอดขายของพนักงานคนหนึ่ง เป็นต้น
ง. การรวมข้อมูล (Merging) เป็นการนำข้อมูลตั้งแต่ 2 ชุด ขึ้นไปมารวมเป็นชุดเดียวกัน เช่น การนำเอาเงินเดือนพนักงาน รวมกับเงินค่าล่วงเวลา จะได้เป็นเงินที่ต้องจ่ายให้แก่พนักงาน
จ. การสรุป (Summarizing) เป็นการรวบรวมข้อมูลที่มีอยู่ทั้งหมดให้อยู่ในรูปแบบสั้น ๆ กะทัดรัดตามต้องการ เช่น การสรุปรายรับรายจ่าย หรือ กำไรขาดทุน
ฉ. การสร้างข้อมูลชุดใหม่ (Reproducing) เป็นการสร้างข้อมูลชุดใหม่ขึ้นมาจากข้อมูลเดิม
ช. การปรับปรุงข้อมูล (Updating) คือ การเพิ่มข้อมูล (Add) การลบข้อมูล (Delete)  และการเปลี่ยนค่า (change) ข้อมูลที่มีอยู่ให้ทันสมัยอยู่เสมอ


3. การนำเสนอข้อมูล (Output) เป็นงานที่ได้หลังจากผ่านการประมวลผลแล้วเป็นขั้นตอนในการแปลผลลัพธ์ที่เก็บอยู่ในเครื่อง ให้ออกมาอยู่ในรูปที่สามารถเข้าใจง่ายได้แก่ การนำเสนอในรูปแบบรายงาน เช่น แสดงผลสรุปตารางรายงานการบัญชี รายงานทางสถิติ รายงานการวิเคราะห์ต่าง ๆ หรืออาจแสดงด้วยกราฟ เช่น แผนภูมิ หรือรูปภาพสรุปขั้นตอนการประมวลผลด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์

ประเภทของการประมวลผลข้อมูล

เครื่องมือที่ใช้ในการประมวลผลข้อมูล จะพิจารณาจากอุปกรณ์ที่ใช้ในการประมวลผล ซึ่งสามารถแบ่งได้เป็น 3 ประเภท คือ     1. การประมวลผลข้อมูลด้วยมือ (Manual Data Processing)        เป็นวิธีการประมวลผลด้วยวิธีการเดิมๆ ที่มนุษย์ใช้กันมาตั้งแต่อดีตโดยใช้แรงงานคนในการประมวลผลทั้งหมด เพื่อให้การประมวลผลข้อมูลได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ เช่น การนับนิ้ว การใช้กระดาษทด การใช้ลูกคิด การใช้เครื่องคิดเลข เป็นต้นวิธีนี้เหมาะจะใช้กับการประมวลผลข้อมูลที่มีปริมาณข้อมูลน้อยๆ และมีขั้นตอนการประมวลผลที่ไม่สลับซับซ้อนมาก     2. การประมวลผลข้อมูลด้วยเครื่องจักร (Mechanical Data Processing)        เป็นวิธีการประมวลผลที่ต้องใช้ทั้งแรงงานคนและเครื่องจักรผสมกัน เช่น การใช้เครื่องจักรทำบัญชี การใช้เครื่องเรียงบัตร เครื่องเจาะบัตร เป็นต้น วิธีนี้เหมาะจะใช้กับการประมวลผลข้อมูลที่มีปริมาณข้อมูลไม่มากนัก     3. การประมวลผลข้อมูลด้วยเครื่องอิเล็ทรอนิกส์ (Electronic Data Processing หรือ EDP)        เป็นการประมวลผลข้อมูลโดดยใช้เครื่องอิเล็กทรอนิกส์ หรือการประมวลผลข้อมูลโดยใช้เคร่องคอมพิวเตอร์นั้นเอง จึงเหมาะจะใช้กับการปประมวลผลข้อมูลที่มีปริมาณข้อมูลมากๆ ต้องการความถูกต้อง รวดเร็ว หรือมีขั้นตอนการประมวลผลที่สลับซับซ้อน เช่น การใช้เครื่องคคอมพิวเตอร์กับงานบัญชี การใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในการควบคุมสินค้าคงคลัง การใช้คอมพิวเตอร์ควบคุมการบิน การใช้คอมพิวเตอร์กัยงานทะเบียนนักเรียน เป็นต้น


ประโยชน์ของการประมวลผลข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์

1.มีความเร็วในการทำงานให้ได้ผลผลลัพธ์ตามที่ต้องการ
2.มีความถูกต้องสูง
3.สามารถทำงานตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ล่วงหน้าได้  ดดยการสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามวันและเวลาที่กำหนด
4.มึความสามารถในการจัดเรียงลำดับ ค้นหา และสรุปผล
5.มีความสามารถทำงานข้อมูลมากๆได้
6.มีความสามารถในการตัดสินใจได้ โดยกำหนดเงื่อนไขด้วยการเขียนโปรแกรมคำสั่ง

วิธีการประมวลผลข้อมูลของคอมพิวเตอร์


          วิธีการประมวลผลข้อมูลของคอมพิวเตอร์ สามารถแบ่งได้ 7 ประเภท ดังนี้ คือ
          1. วิธีการประมวลผลแบบออฟไลน์  (Off-line Processing)  หมายถึง การประมวลที่มีการทำงานในลักษณะการเตรียมการ  เพื่ออำนวยความสะดวกในการประมวลผลโดยใช้อุปกรณ์อินพุตและอุปกรณ์เอาต์พุต ทำการบันทึกโปรแกรมคำสั่งและข้อมูลลงบนอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล แล้วนำข้อมูลนั้นส่งเข้าไปในเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อทำการประมวลผลต่อไป
         2. วิธีการประมวลผลแบบออนไลน์ ( On-line Processing ) หมายถึง  การประมวลผลที่ใช้ อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลที่เป็นส่วนหนึ่งของเครื่องคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์การจัดเก็บข้อมูลที่อยู่ห่างกันแต่สามารถติต่อโดยตรงกับเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ วิธีการประมวลผลลักษณะนี้ เมื่อทำการประมวลผลเสร็จแล้ว จะเห็นผลลัพธ์ทันที ตัวอย่างเช่น ระบบการบริการฝาก-ถอนเงินผ่านเครื่องเอทีเอ็มของธนาคารต่าง ๆ
          3. วิธีการประมวลผลแบบกลุ่ม ( Batch  Processing) หมายถึง  การประมวลผลโดยการจัดรวบรวมข้อมูล และแบ่งแยกข้อมูลออกเป็นกลุ่ม ๆ แล้วจึงส่งเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อทำการประมวลผลครั้งเดียว   ซึ่งขั้นตอนการประมวลผล  จะไม่มีการโต้ตอบกันระหว่างผู้ใช้งานกับเครื่อง
คอมพิวเตอร์

               4. วิธีการประมวลผลแบบแบ่งเวลา (Time Sharing Processing) หมายถึงการประมวลผลที่ผู้ใช้สามารถติดต่อใช้งานคอมพิวเตอร์พร้อม ๆ กันได้หลายคน (Multi-user)
ลักษณะการทำงานแบบนี้คอมพิวเตอร์   จะมีหน่วยประมวลผลกลางเพียงตัวเดียวสามารถทำงานในเวลาหนึ่ง ๆ ได้ 1 งานเท่านั้น แต่ใช้เทคนิคการแบ่งเวลาให้ผู้ใช้แต่ละคนหมุนเวียนกันไปอย่างต่อเนื่อง เช่น แบ่งเวลาให้คนละ 0.05 วินาที ซึ่งเร็วมาก ทำให้ผู้ใช้แต่ละคนรู้สึกเหมือนทำงานได้อย่างต่อเนื่องโดยไม่เสียเวลารอคอย
           5. วิธีการประมวลผลแบบเวลาจริง  ( Real Time Processing )  หมายถึง การประมวลผลที่เมื่อทำการส่งข้อมูลเข้าไปในคอมพิวเตอร์แล้วจะได้ผลลัพธ์ออกมาทันที ตัวอย่างเช่น การใช้บริการบัตรเครดิตตามห้างร้านต่าง ๆ
           6. วิธีการมวลผลแบบหลายโปรแกรมหรือมัลติโปรแกรมมิง  ( Multiprogramming )หมายถึง  การประมวลผลที่ให้ผู้ใช้หลาย ๆ คนสามารถทำงานพร้อมกันได้ โดยการแบ่งความจำสำรองออกเป็นส่วน ๆ เรียกว่า Partition โดยที่งานของผู้ใช้แต่ละงาน จะใช้หน่วยความจำส่วน Partition ที่กำหนดเท่านั้น ซึ่งขนาดของ Partition ที่กำหนดให้เท่านั้น ซึ่งขนาดของ Partition ไม่จำเป็นต้องเท่ากันหลักการทำงานของวิธี การประมวลผลแบบหลายโปรแกรม   เนื่องจากหน่วยประมวลผลกลางมีความเร็วในการทำงานมากกว่าหน่วยรับข้อมูล  และหน่วยส่งข้อมูลออก ดังนั้น   การทำงานหนึ่ง ๆ จะเกิดเวลาว่างของหน่วยประมวลผลกลาง ระหว่างรอรับข้อมูลเข้าหรือรอข้อมูลออกดังนั้น การคิดระบบให้คอมพิวเตอร์สามารถทำงานหมุนเวียนหลาย ๆ  งาน โดยใช้ช่วงเวลาว่างของหน่วยประมวลผลกลาง ขณะที่ทำงานใดรอข้อมูลเข้าหรือรอการส่งข้อมูลออกการทำงานลักษณะงานลักษณะนี้ เรียกว่า การทำงานแบบหลายโปรแกรม
          7. วิธีการประมวลผลแบบมัลติโพรเซสซิง (Multiprocessing) หมายถึง การประมวลที่ใช้หน่วยประมวลผลหลาย ๆ ตัว ทำงานร่วมกันพร้อม ๆ กัน เพราะงานทุกอย่างต้องการความเร็วเป็นพิเศษในการประมวลผล ทำได้โดยการติดตั้งหน่วยประมวลผลกลางเพิ่มเข้าไปในเครื่องคอมพิวเตอร์หากหน่วยประมวลผลกลางใดเสีย ระบบก็ยังสามารถทำงานต่อไปได้ระบบการประมวลผลข้อมูลแบบกระจาย (Distributed Data Processing)


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น